โครงการพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าและภาวะโภชนาการในเขตตำบลย่านซื่อ
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าและภาวะโภชนาการในเขตตำบลย่านซื่อ |
รหัสโครงการ | 61-L8403-1-.......... |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ |
วันที่อนุมัติ | 14 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 8,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวีรพล มรรคาเขต |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางเกศวรางค์ สารบัญ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.767,100.065place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 170 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – ๖ปีมีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐หรือประมาณ ๔ ล้านคนปีงบประมาณ ๒๕60 จังหวัดสตูล ได้เริ่มใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ( DSPM ) และคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ( DAIM ) ในการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย จากการคัดกรองพบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๕๔.๗๔ (เป้าหมาย ร้อยละ๘๕) มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๔๕.๒๖ และเมื่อได้กระตุ้นพัฒนาการ ๑ เดือน โดยการให้คำแนะนำ / สอนพ่อ-แม่ / ผู้ปกครอง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการที่บ้านอย่างต่อเนื่อง พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๙๔.๕๕ จะเห็นได้ว่าเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าสามารถกลับมามีพัฒนาการสมวัยได้ หากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม และต่อเนื่อง ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อยังเป็นปัญหาของเด็กกลุ่มแรกเกิด – 6 ปี ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 120 | 3,000.00 | 1 | 3,000.00 | 0.00 | |
17 ก.ย. 61 | ประชุมเชิงปฏิบัติการในการสาธิตอาหารแก่ พ่อ-แม่ | 120 | 3,000.00 | ✔ | 3,000.00 | 0.00 | |
12 ก.ย. 61 | อบรมเชิงปฏิบัติการ ออกสำรวจกลุ่มเป้าหมาย โดยหมอครอบครัวระดับชุมชน โดยออกสำรวจในพื้นที่ | 50 | 5,000.00 | ✔ | 5,000.00 | 0.00 | |
50 | 5,000.00 | 1 | 5,000.00 | 0.00 | |||
รวมทั้งสิ้น | 170 | 8,000.00 | 2 | 8,000.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ
๑. ประชุมชี้ภาคีเครือข่ายและหมอครอบครัวระดับชุมชนเพื่อดำเนินงาน
๒. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชน ร่วมกับหมอครอบครัวระดับชุมชนแต่ละหมู่บ้าน
๓.จัดกิจกรรมคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
( DSPM ) ในเด็กปกติ และ ใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ( DAIM ) ในเด็กกลุ่มเสี่ยง
( LBW/BA )
๕.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวในทุกหมู่บ้านและสถานบริการ
๖. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
๖.๑ จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่อง พัฒนาการสมวัยและ ภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๖ ปี
๖.๒ มีการติดตามการดำเนินงานและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
๖.๓ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ
๑.พ่อแม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กเข้าใจและให้ความร่วมมือในการฝึกทักษะปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน
๒.เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า หลังได้รับการกระตุ้น มีพัฒนาการสมวัย
๓.เด็กที่มีพัฒนาการมาสมวัย ได้รับการส่งต่อหน่วยบริการทุติยภูมิ ที่มีแพทย์ หรือกุมารแพทย์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก และครอบครัว
4.เด็กที่มีปัญหาทางโภชนาการจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561 16:12 น.