กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเสี่ยง ป้องกันภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงตำบลป่าบอน ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2984-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ช้างให้ตก (ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน ต.ป่าบอน)
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีนา หะยีตาเยะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสันติพงษ์ สืบสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.701,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าไม่รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกว้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ 17.5 ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลป่าบอนมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 140 คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 23 คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาวาน จำนวน 42 คน (ข้อมูลจากฐานข้อมูลไม่ติดต่อจังหวัดปัตตานี) พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 2 ราย เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease ERSD) จะต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในประชาชนที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)สิทธิที่รัฐบาลให้ใช้ได้ คือการล้างไตทางช่องท้อง เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประเทศจะต้องสูญเสียงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็นเงินจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื่้อรัง จะส่งผลต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโละและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้สน และผลการประเมินค่า CV risk score พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังตำบลป่าบอนปีงบประมาณ 2560 มีค่า CV risk score> 30 จำนวน 85 คน (จากการประเมินผู้ป่วยเรื้อรังจากโปรแกรม Thai CV risk score) ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลป่าบอยเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก ได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่่อมเรื้อรัง

 

2 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลป่าบอน

 

3 เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมหาแนวทางร่วมกับ อสม.ในตำบลป่าบอนในการดำเนินการ 2.คัดกรองผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง โดยคัดกรองจากโปรแกรม (Thai CV risk score) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า CV risk score> 30 จำนวน 85 คน และจัดทำทะเบียน 3.จัดทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขตำบลป่าบอน 4.จัดอบรมผู้ป่วยเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ให้เกิดการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เช่น อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย เพื่อลดเสี่ยง ป้องกันภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง 5.หลังจากเข้ารับการอบรม 3 เดือน ติดตามและประเมินผู้ป่วยซ้ำจากโปรแกรม (Thai CV risk score) 6.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ร้อยละ 80 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง มีค่า CV risk score> 30 3.ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง 4.ลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 09:56 น.