กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เด็กอนุบาลกันตัง ฟ. ฟันสวยๆ ยิ้มใสๆ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L6895-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 42,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนวัดตรังคภูมิพุทธาวาส /โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี/โรงเรียนประชาวิทยา/ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 465 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพในเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาลเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคม จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ประจำปี พ.ศ. 2559 – 2560 พบว่าเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาล มีฟันน้ำนมผุคิดเป็นร้อยละ 53.47 และ 65.54 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการเกิดฟันน้ำนมผุเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งสาเหตุของโรคฟันน้ำนมผุส่วนใหญ่เกิดจากการแปรงฟันไม่ถูกวิธี พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองอาจขาดความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ จึงส่งผลให้เกิดภาวะฟันผุขึ้นในฟันน้ำนมและส่งผลต่อภาวะฟันแท้ผุในอนาคต จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้ดำเนินโครงการ “เด็กอนุบาลกันตัง ฟ. ฟันสวยๆ ยิ้มใสๆ ปี 2561” เพื่อป้องกันและรักษาฟันน้ำนมผุในเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาล อีกทั้งการใช้ฟลูออไรด์วานิชเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูระดับชั้นอนุบาลได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากป้องกันอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล

ครูระดับชั้นอนุบาลได้รับความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนในระดับชั้นอนุบาลได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ

ร้อยละ100 นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิช

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนในระดับชั้นอนุบาลที่มีปัญหาฟันผุได้รับการอุดฟันอย่างง่าย (SMART TECNIQUE)

ร้อยละ100 นักเรียนในระดับชั้นอนุบาลที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับการอุดฟันอย่างง่าย (SMART TECNIQUE)

0.00
4 เพื่อให้โรงเรียนมีกิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปาก และนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

โรงเรียนมีกิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล อย่างน้อย 1 กิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,630.00 3 42,630.00
4 ส.ค. 61 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 8,520.00 8,800.00
6 ส.ค. 61 กิจกรรมตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชและอุดฟันอย่างง่าย (SMART TECNIQUE) 0 21,585.00 12,170.00
6 ส.ค. 61 กิจกรรมรณรงค์การดูแลทันตสุขภาพ 0 12,525.00 21,660.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง 1.2 เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.3 วางแผนการดำเนินการ จัดเตรียมอุปกรณ์ 1.4 ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทันตแพทย์ ทันตสาธารณสุข โรงเรียน ครูผู้ดูแล
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 อบรมให้ความรู้แก่ครูระดับชั้นอนุบาล เกี่ยวกับกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กระดับชั้นอนุบาลโดยทีมทันตสาธารณสุข 2.2 ตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล ส่วนนักเรียนที่มีปัญหาฟันผุได้รับการอุดฟันอย่างง่าย (SMART TECNIQUE) 2.3 จัดกิจกรรมรณรงค์การดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียนระดับชั้นอนุบาลในเขตรับผิดชอบ
  3. ขั้นติดตามและประเมินผล 3.1 ติดตาม/ประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย
  4. ขั้นสรุปและรายงานผล 4.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูระดับชั้นอนุบาลมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. นักเรียนในระดับชั้นอนุบาลมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น อัตราการเกิดโรคฟันน้ำนมผุลดลง
  3. โรงเรียนมีกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 17:25 น.