กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดทำแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนเสาธง
รหัสโครงการ 61/L3329/15/40
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลควนเสาธง
วันที่อนุมัติ 27 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัญชลี เพียสุระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคตการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้
เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีและใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ จะต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าว อาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น โดยระยะแรกอาจเลือกใช้แผนสุขภาพชุมชน และในระยะต่อไปมีการพัฒนาขึ้น โดยนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป จากความสำคัญของการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน สำนักปลัดเทศบาลตำบลควนเสาธง จึงได้จัดทำโครงการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน 2. เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนเสาธง 3. เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4. เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการสุขภาพประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

2.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯเพื่อชี้แจงการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน 2.2 เขียนโครงการ(ร่าง)เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารฯ 2.3 ปรับปรุงรายละเอียดโครงการ และเสนอประธานฯอนุมัติ 2.4 ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการ จำนวน 55 คน ประกอบด้วย 2.4.1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 คน 2.4.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนฯและอนุกรรมการฯ จำนวน 25 คน 2.4.3 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11 คน 2.4.4 โต๊ะอีหม่าม จำนวน 3 คน 2.4.5 ตัวแทนเด็กและเยาวชน จำนวน 3 คน 2.4.6 ตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน 2.5 ดำเนินการตามโครงการ 2.6 ฝ่ายเลขาสรุปประเด็นปัญหาและโครงการ จัดทำ(ร่าง)แผนพัฒนาสุขภาพ เพื่อที่จะนำเข้าแผนพัฒนาสุขภาพ เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการฯ 2.7 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯเพื่อพิจารณาเห็นชอบแผนสุขภาพชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน

    1. ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนเสาธง มีแผนสุขภาพชุมชนเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนฯ
    2. ทำให้มีแนวทางการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

    3. ทำให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา และกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการสุขภาพประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง

    4. ทำให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงการบริการสุขภาพอย่างเสมอภาค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 10:45 น.