โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61L70080303 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหมู่ที่ 1 |
วันที่อนุมัติ | 14 ธันวาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมาเรียม สะนิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายไพจิตรบุญทอง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.868,101.335place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึงคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุขทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้นและมีอายุยืนยาวทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพ และดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมาก่อน สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลาน ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้น เพื่อที่จะสามรถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้างหรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วยและครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุด ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัวดังกล่าว จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
|
0.00 | |
2 | 2. ส่งเสริมการจัดตั้งและดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุและเครือข่ายให้ยั่งยืน
|
0.00 | |
3 | 3. สนับสนุนกิจกรรมขององค์กรเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,250.00 | 1 | 9,250.00 | 0.00 | |
15 ส.ค. 61 | อบรม โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ | 0 | 9,250.00 | ✔ | 9,250.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 9,250.00 | 1 | 9,250.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อสม.ผู้นำชุมชน
- เสนอโครงการต่อผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการตามกิจกรรม
- รายงานผลการดำเนินโครงการ
1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่พึงประสงค์ สามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้
2. ผู้สูงอายุมีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการส่งเสริมสุขภาพ
ตนเอง ครอบครัว และชุมชน
3. สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
4. มีชมรมเครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่แบบยั่งยืนและมีกิจกรรมต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2561 14:16 น.