กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ
รหัสโครงการ 04 01 60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาราเฮาะอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.829,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2560 18 ก.ย. 2560 39,800.00
รวมงบประมาณ 39,800.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (39,800.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (69,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีคำสั่งเลขที่ค.00015/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2557องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาราเฮาะ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อให้การดำเนินงานหรือบริหารจัดการกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัวและมีแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ มีการพิจารณาสนับสนุนแก่หน่วยบริการ กลุ่มประชาชนและองค์กรประชาชนในเขตพื้นที่ คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ นั้น
ในการนี้ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีได้จัดให้มีกิจกรรมประเภทที่4กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุน/พัฒนาศักยภาพกรรมการ/และพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อให้การบริหารจัดการและการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในเขตพื้นที่ มีความรู้ความเข้าใจในกฏเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภารกิจ ที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ครอบคลุม ทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

 

2 2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รวมทั้งเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน แก่คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลกองทุนหลักประกันสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • เบิกจ่ายงบประมาณตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชีและรายงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560

  • ค่าตอบแทนเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บาราเฮาะ

  • ค่าครุภัณฑ์ 20,000 /รายการ
  • ค่าวัสดุสำนักงาน
  • ค่าตอบแทนวิทยากรพี่เลี้ยงกองทุนลงติดตามกองทุนฯ
  • ค่าอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเดินทางไปราชการ
    ค่าพาหนะค่าลงทะเบียน เบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก
  • ค่าใช้สอยอื่นๆตามความเหมาะสม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตรงตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ -ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รวมทั้งเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน แก่คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลกองทุนหลักประกันสุขภาพมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ