กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ตำบลผดุงมาตร ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2477-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ผดุงมาตร
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 34,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสยานี ดอสะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสรี เซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ม.ค. 2562 21 ม.ค. 2562 34,650.00
รวมงบประมาณ 34,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือนมีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากรายงานผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด-2 ปี 11 เดือน ในทุกหมู่บ้านของตำบลผดุงมาตรปีงบประมาณ 2562 พบว่า เด็กทั้งหมด 248 คน ได้รับการชั่งน้ำหนัก 246 คน คิดเป็นร้อยละ 96.19 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 13.41 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด (เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ 8 ) พบพัฒนาการล่าช้า 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.18 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กแรกเกิด- 2 ปี 11 เดือน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ให้การดูแล รักษา และพื้นฟู ในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ทั้ง 6 หมู่บ้านในเขตตำบลผดุงมาตรเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด –2 ปี 11 เดือน

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการติดตาม ร้อยละ 100

33.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด –2 ปี 11 เดือน มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

เด็กอายุแรกเกิด –2 ปี มีพัฒนาการร้อยละ 95

33.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,650.00 3 36,450.00
20 มิ.ย. 62 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 0.00
20 มิ.ย. 62 ติดตามเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 0 34,650.00 36,450.00
20 มิ.ย. 62 ประเมินน้ำหนักทุกเดือน 0 0.00 0.00
  • สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  • ติดตามเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  • ประเมินน้ำหนักทุกเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ให้เด็กแรกเกิด – 2 ปีได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 90
  2. ให้เด็กแรกเกิด – 2 ปี มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 80
  3. เด็กแรกเกิด – 2 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2561 00:00 น.