กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 10,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 962 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัคซีนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก ประเทศไทยใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการจัดตั้งแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยการใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรค  แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายและผสมผสานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขในระบบปกติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ  จนปัจจุบันมีวัคซีนทั้งหมดรวม 11 ชนิด รวมทั้งเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชากรไทยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายพื้นที่การให้บริการวัคซีน HPV แก่เด็กนักเรียน หญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และได้ให้วัคซีน BCG, HB, dT, OPV, IPV, MR และ LAJE เพื่อเก็บตกในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนดปกติ วัคซีน dT แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการดำเนินงานปี 2561 ที่ผ่านมาปัญหาคือผู้ปกครองจะไม่ยินยอมให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนขั้นพื้นฐานดังกล่าวประมาณ 3% ซึ่งทางเทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคติดต่อด้วยวัคซีนแก่เด็กวัยเรียน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น  เพื่อให้โรงเรียนเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 100    อันจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เด็กไทยห่างไกลจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็งสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงเรียน ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.6 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
  2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
0.00
2 เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน/ครูประจำชั้น/ผู้บริหารโรงเรียน/ตัวแทนครูของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 977 10,750.00 2 10,750.00
8 พ.ค. 62 กิจกรรมอบรมแก่ครูอนามัยโรงเรียน/ผู้บริหารหรือตัวแทน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 15 7,750.00 6,994.00
18 ก.ค. 62 กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียน 962 3,000.00 3,756.00
  1. ขั้นเตรียมการ   1.1 เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมโรงเรียนที่รับผิดชอบ และประสานโรงเรียนในเขตเทศบาล เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานวัคซีนในโรงเรียน   1.2 ประสานโรงเรียนในเขตรับผิดขอบที่ต้องให้บริการวัคซีน จำนวน 4 โรงเรียน เพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ประสานโรงเรียนในเขตเทศบาลอีก 2 โรงเรียนเพื่อเตรียมดำเนินการงานวัคซีนในโรงเรียน และประสานงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการเตรียมความพร้อมสำรวจข้อมูลวัคซีนก่อนครบ 4 ปี   1.3 จัดทำเอกสารขออนุญาตผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายที่จะให้วัคซีนเป็นรายบุคคลมอบแก่โรงเรียนพร้อมขอเอกสารประวัติการได้รับวัคซีนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1ทุกรายเพื่อพิจารณาการให้บริการวัคซีน   1.4 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจากโรงเรียนทั้ง 4 โรงเรียน   1.5 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น โรงพยาบาลกันตัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังเพื่อเบิกวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 จัดทำเอกสารประกอบการอบรมและประสานวิทยากร   2.2 อบรมครูอนามัยโรงเรียน/ผู้บริหารหรือผู้แทน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 15 คน
      2.3 จัดทำแผนปฏิบัติงานในการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคในโรงเรียน/ประสานแจ้งแผนปฏิบัตงานบริการให้วัคซีนแก่โรงเรียน   2.4 ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานให้วัคซีนป้องกันโรคในโรงเรียน โดยครูอนามัยโรงเรียนประสานครูประจำชั้นที่เกี่ยวข้อง   2.5 ติดตามเก็บตกให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์   2.5 ติดตามภาวะ AEFI พร้อมรายงานผู้เกี่ยวข้อง
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล   3.1 รายงานผลการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม HOSxP_PCU   3.2 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ
    จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข
  2. ครูอนามัยโรงเรียน/ ผู้บริหารหรือตัวแทนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ/ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน/การดูแลเด็กนักเรียนหลังการได้รับวัคซีน  และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 13:59 น.