กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. พิชชานันท์ สุขเกษม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย        ปี 2553–2583 ของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) โดยใช้ข้อมูล  สํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูงถึง 20.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจํานวนประชากรไทยทั้งหมด แต่จะมีประชากรวัยแรงงานเพียง 35.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553  ที่มีประชากรวัยแรงงานจํานวน 42.74 ล้านคน หรือลดลง 7.6 ล้านคน ขณะที่ประชากรวัยเด็กจะมีจํานวนลดลงเช่นกันจาก 12.6 ล้านคน ในปี 2553 เป็น 8.2 ล้านคน ในปี 2583 โครงสร้างประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้ การเพิ่มของประชากรสูงอายุยังสะท้อนการเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลัง จากจํานวนประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่นคงทางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจากครอบครัวยากจน และการดํารงชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จากข้อมูลงานผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ในปีงบประมาณ 2561 พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 1,911 ราย การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ และยังขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด และเป็นเครือข่ายสุขภาพในระดับชุนชนที่มีความรู้และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน  มีบทบาทหน้าที่กระจายความรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จึงจัดทำโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2562 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมกันดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านพร้อมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ

 

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 101 22,700.00 2 22,700.00
7 พ.ค. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 22,700.00 22,700.00
3 มิ.ย. 62 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 21 0.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลและจำแนกประเภทผู้สูงอายุในชุมชน 1.2 ประสานและขอความร่วมมือชุมชนในการคัดเลือกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 1.3 เสนอแผนงานให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง และเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการ   คณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน ในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบ   องค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชน 2.2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครดูแล   ผู้สูงอายุ (อผส.) พร้อมประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) มีทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ
  3. เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 14:06 น.