โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเชิงรุกในสถานศึกษา "ร่วมมือ ร่วมใจ เด็กประกอบฟันดี"
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเชิงรุกในสถานศึกษา "ร่วมมือ ร่วมใจ เด็กประกอบฟันดี" |
รหัสโครงการ | 62-L5202-1-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประกอบ |
วันที่อนุมัติ | 15 มีนาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 23,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวณัฐณิชา เจ๊ะเล๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสุวดี จันกระจ่าง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.483,100.643place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2562 | 23,350.00 | |||
รวมงบประมาณ | 23,350.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 418 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนและนักเรียนทั่วไปมีระดับความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ (มากกว่าหรือเท่ากับ 12 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 15 คะแนน) |
80.00 | |
2 | 2.เพื่อให้นักเรียนมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและครอบคลุมทุกด้าน -ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนและนักเรียนทั่วไปสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธีตามแบบสังเกตการแปรงฟันทุกข้อ -ร้อยละ 80 ของแกนนำนักเรียนและนักเรียนทั่วไปมีค่า Plaque index เฉลี่ยลดลง (โดยใช้แบบบันทึกค่า PI ของ Stallardet al.) |
80.00 | |
3 | 3.เพื่อให้นักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน -ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน |
80.00 | |
4 | 4.เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุในเด็ก ได้แก่ การตรสจสุขภาพช่องปาก การทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทางทันตกรรม -ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนได้รับการเสริมสร้างและบริการป้องกันโรคฟันผุ ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทางทันตกรรม |
80.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.สำรวจข้อมูลโรงเรียน และจำนวนนักเรียน เพื่อนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน 2.ร่างโครงการและแผนปฏิบัติงาน 3.วางแผนเพื่อจัดทำโครงการ 4.ประสานความร่วมมือส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 5.ประสานวิทยากร 6.กำหนดวันดำเนินงาน 7.ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 8.ติดตามผลการดำเนินงาน 9.ประเมินผลและสรุปโครงการ ขั้นดำเนินการ 1.กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาแก่แกนนำโรงเรียน จำนวน 48 คน (โรงเรียนละ 12 คน) -แบบสอบถามก่อนเข้าอบรม 1.1อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและโภชนาการเกี่ยวกับสุขภาพ 1.2ฝึกทักษะการแปรงฟัน 1.3ฝึกทักษะการใช้ไหมขัดฟัน 1.4ฝึกทักษะการตรวจฟันและจดบันทึก 2.กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม Walk rally 4 ฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 418 คน (4 โรงเรียน) ดำเนินกิจกรรม 2 วัน วันละ 209 คน -แบบสอบถามก่อนเข้าอบรม 2.1 ฐานที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ 2.2 ฐานที่ 2 ให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีผลต่ออนามัยช่องปาก 2.3 ฐานที่ 3 ฝึกทักษะการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟัน 2.4 ฐานที่ 4 แปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ พร้อมย้อมคราบจุลินทรีย์ 3. กิจกรรมที่ 3 3.1 ทำแบบสอบถามหลงเข้ารับการอบรม หลังให้ความรู้หนึ่งสับปดาห์ 3.2 ประกวด เด็กฟันดี ยิ้มสดใส 3.3 ทำกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน - เปิดเพลงแปรงฟันในช่วงเสียงตามสายทุกวัน - มีการบันทึกการแปรงฟันทุกวันของแต่ละห้อง 3.4 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และการบริการทันตกรรม 3.5 ติดตามผลการปกิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 เดือน 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ ติดตามและประเมินผล 1. แบบทดสอบด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2. แบบสังเกตการแปรงฟัน 3. แบบบันทึกการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ (โดยใช้แบบบันทึกค่า Pl Stallard et al.) 4. แบบบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน 5. นักเรียนในโรงเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และบริการทันตกรรม
- นักเรียนมีสภาวะทางทันตสุขภาพที่ดีขึ้น
- นักเรียนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
- นักเรียนมัทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก
- นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- นักเรียนสามารถลดความถี่ในการรับประทานอาหารได้
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2562 11:17 น.