กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรค HT ,DM ตำบลกะมิยอ ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3009-01-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยาซิน สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8502078151918,101.3136870079place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันดลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา อันมีเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตลอดจนการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่นไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต จอประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยบางรายต้องถูกตัดเท้า ต้องนอนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถป้องกัน ชะลอ และลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยคงความรู้สึกการเป็นมนุษย์ ลดการสูญเสียอวัยวะ และภาวการณ์เสียสมดุลเป็นภาระให้กับครอบครัว ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้มากยิ่งขึ้น สถิติประเทศไทย ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2562 กับกลุ่มเป้าหมายประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ พบว่า21.4 % เป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่น่าเป็นห่วงคืออัตราการรับรู้ว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าถึงบริการและอัตราการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้นั้นค่อนข้างต่ำ 6.9 % (3.2 ล้านคน) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อัตราการควบคุมได้ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะประชากรชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง พบว่า 56.7 % ที่รู้ตัว และมีเพียง 21.1 % ที่สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้ 19.4 % หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โดยผู้หญิงมีความชุกมากกว่าผู้ชาย สถานการณ์การคัดกรองปัญหาสุขภาพ พบว่าในภาพรวมในปัตตานี มีความเสี่ยง/เสี่ยง สูงต่อโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 55.3 ซึ่งในส่วนของข้อมูลการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non Communicable Diseases : NCD) ในผู้สูงอายุพบว่าโรคส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1. โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 44.33 (ปี 2558 = 43.14 , ปี 2559 = 43.32) 2. โรคเบาหวาน ร้อยละ 15.87 (ปี 2558 = 15.12 , ปี 2559 = 15.43) 3. โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 3.31 (ปี 2558 = 2.88 , ปี 2559 = 31.4) ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี อัตราการป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื่อรังได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองปี 2562 มีเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ .... จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ป่วย HT, DM และกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมกับปัญหา วิถีชีวิตและบริบทของชุมชนได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรค HT ,DM ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส

0.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและกลุ่มป่วยโรค HT, DM

ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและกลุ่มป่วยโรค HT, DM

0.00
3 เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่ของตำบล

ป้องกันกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่ของตำบล

0.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 14,000.00 -
  1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องทราบ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผน จัดกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยน
  4. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรค HT, DM ด้วยกิจกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส
  5. ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหลังจากให้ความรู้ 2 เดือน
  6. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และความดัน รายใหม่ ลดลง จากกลุ่มเสี่ยง
  2. กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส
  3. ร้อยละของผู้ป่วยควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดีเพิ่มขึ้น
  4. ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 11:02 น.