กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวกะรุบีร่วมใจ ห่างไกลไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L2971-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกะรุบี เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลกะพ้อ
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุพิน สาเมาะ นางสะปีนะ ซีบะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.57,101.556place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4780 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยพื้นที่ชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าสวนยางพารา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีการระบาดของการเกิดโรคได้ง่าย ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาคือ ประชาชนขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เพราะความเชื่อเดิมๆที่ไม่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค                  และวิถีชีวิตที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา การใช้กะลาให้การรองน้ำยางซึ่งหลังการเก็บยางนั้นทำให้มีน้ำขังในกะลาก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้ง่าย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีการทิ้งขยะรอบๆบ้าน ไม่มีการกำจัดที่ถูกวิธีทำให้เกิดการเพาะพันธ์ยุงลาย ก่อนหน้านี้ ชุมชุนมีการนำเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงหลาย เช่น การพ่นหมอกควัน การใช้ทรายอะเบท และการใช้สมุนไพรมาใช้ในการช่วยควบคุมการติดต่อของโรค     ทางทีมงานเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อให้คนในชุมชุนตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรค และได้มีส่วนร่วมในชุมชุนการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยกัน เป็นการสร้างเสริมกิจกรรมในชุมชุนร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายใน โรงเรียนและชุมชน

ค่า HI , ค่า CI ลดลง ร้อยละ 60

60.00
3 เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออกและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ  ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 80

80.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 60

60.00
5 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหา และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออกและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ร้อยละ 60

60.00
6 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,100.00 1 15,600.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 Big Cleaning Day 0 12,100.00 15,600.00

1.ส่งเสริมผู้นำฝ่ายปกครองในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการเชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำความสะอาดบริเวณรอบๆบ้านของตนเพื่อแก้ปัญหา
2.ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อลงมือร่วมกันทำความสะอาดรอบๆบริเวณสาธารณประโยชน์ มัสยิด โรงเรียน ปรับ สภาพแวดล้อมให้สะอาดทั้งรอบบ้านตนเองและพื้นที่ส่วนรวมในชุมชน 3. สร้างข้อตกลงในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลชุมชน และสถานที่สาธารณประโยชน์ และร่วมกันคิดค้น นวัตกรรมในการป้องกันโรค และคิดค้นสมุนไพรที่สามารถใช้ในการป้องกันการเกิดโรค
4.แกนนำสาธารณสุข(อสม.)ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย 5.พ่นยุงในครัวเรือนที่มีผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์และในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน 2.ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในโรงเรียนลดลงและชุมชน พื้นที่รอบๆบ้านประชาชนในชุมชนสะอาดน่าอยู่ขึ้น 3.เกิดความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนัก ถึงภัยโรคไข้เลือดออกและเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 14:05 น.