กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุค 4.0 รู้ทันมะเร็ง ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L2971-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกะรุบี
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 27,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮานา เต็งมะ นางยุพิน สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.57,101.556place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของ สตรีไทย โรคมะเร็งที่พบรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งลดลง   แม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคได้ก็ตาม แต่กลุ่มสตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้   จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสตรีกลุ่มเป้าหมายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ขาดทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และยังให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ร้อยละสตรีได้รับความรู้ ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ได้ด้วยตนเอง

ร้อยละสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัย ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,700.00 2 27,700.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 0 14,100.00 14,100.00
1 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 ฝึกทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยตนเอง 0 13,600.00 13,600.00

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
2.ฝึกทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีที่มีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.สตรีที่มีอายุ 30-70 ปีมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3.สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อ เพื่อการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 09:43 น.