กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยุวชนจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนน่าอยู่ ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3009-02-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มครูตาดีกา ม. 2 ต. กะมิยอ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิบรอฮีม อาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนหมู่ที่ ๒ , ๓ และหมู่ที่ ๖ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.846463535721,101.31129447746place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาสําคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน และนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณ ขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับ การจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการทําลาย จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกําจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอย จากการสํารวจข้อมูลปริมาณขยะทั่วประเทศพบว่ามีปริมาณ 26.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2555 ถึง 2 ล้านตัน ในจํานวนนี้มีการเก็บขนและนําไปกำจัดแบบถูกต้อง จํานวน 7.2 ล้านตัน และกําจัดแบบไม่ถูกต้อง จํานวน 6.9 ล้านตัน นอกจากนั้นพบว่าปริมาณขยะที่ไม่ได้รับการเก็บขนทําให้ตกค้างในพื้นที่ ประมาณ 7.6 ล้านตัน และมีปริมาณขยะที่นํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพียง 5.1 ล้านตัน ในจํานวนนี้สามารถกําจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประมาณ 5.83 ล้านตัน และถูกนํากลับไปใช้ประโยชน์ ประมาณ 5.28 ล้านตัน มูลฝอยส่วนที่เหลือกว่า 13.62 ล้านตัน ยังคงถูกกําจัดทิ้งอย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ด้วยวิธีการเทกองกลางแจ้ง และการเผาในที่โล่ง (กรมควบคุมมลพิษ, 2556) ส่วนจังหวัดปัตตานี ติดอันดับที่ 13 ที่มีปัญหาขั้นวิกฤติเกี่ยวกับปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการเก็บขน กำจัดแบบไม่ถูกต้อง และปริมาณขยะมูลฝอยสะสม สาเหตุที่เกิดเนื่องจากประชาชนยังทิ้งขยะมูลฝอยโดยไม่มีการคัดแยก ทำให้มีขยะมูลฝอยปริมาณมากที่ต้องนำไปกำจัด มีขยะอันตราย ปะปนไปกับมูลฝอยทั่วไป และมีการนำขยะมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์น้อย จำนวนสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยมีไม่เพียงพอที่จะจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด และที่มีอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่งผลให้ขยะมูลฝอยจำนวนมากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องโดยมีการ เผากลางแจ้ง กองทิ้งในบ่อดินเก่าหรือพื้นที่รกร้าง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่มีมูลฝอยตกค้างปริมาณมากจะเกิดปัญหาไฟไหม้บ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนหนาแน่น และพบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และการดำเนินงานของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ เครื่องจักรอุปกรณ์และบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในการดูแลและรักษาระบบ ปัญหาขยะ หมู่ที่ 2 3 และหมู่ที่ 6 ตำบลกะมิยอนั้นเกิดจากการแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากร จากประชากรรวมทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวน 1,113 คน แยกเป็นเพศชาย 570 คน และเพศหญิง 543 คน จำนวน 224 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 394 คนต่อตารางกิโลเมตร การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การมีร้านชำที่เพิ่มขึ้น การขายสินค้าต่างๆตามตลาดนัดในชุมชน เป็นสาเหตุให้ขยะล้นมือในชุมชน จะอาศัยแต่องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้จัดเก็บอย่างเดียวคงจะไม่ทัน ปริมาณถังขยะจำนวน 200 ถัง ปริมาณขยะในแต่ละสัปดาห์จำนวน 5 ตัน จากปริมาณขยะในชุมชนพบว่าปริมาณขยะวันละ 220 กิโลกรัม เดือนละ 6,600 กิโลกรัม ค่ากำจัดขยะเดือนละ 14,000 บาท จำนวนขยะที่คัดแยกคือ ขยะทั่วไป ร้อยละ 70 ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 18 และขยะรีไซเคิล ร้อยละ 12 ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มครูตาดีกา หมู่ที่ ๒ ตำบลกะมิยอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดขัดเกลายุวชนให้มีใจรักษาเรื่องความสะอาด มีจิตอาสาในการทำให้ชุนน่าอยู่ และเป็นการเพิ่มเครือข่ายภาคประชาชนรุ่นเด็กนักเรียนให้มีการแยกขยะที่ต้นทางนำสู่การลดปริมาณขยะ จึงได้จัดทำโครงการยุวชนจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนน่าอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยาวชนมีพฤติกรรมคัดแยกขยะจากต้นทางได้ถูกต้อง และลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดโดยวิธีฝังกลบ เพื่อเพิ่มเครือข่ายจิตอาสาในรุ่นยุวชน และเพื่อให้ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมและลดอุบัติการณ์ของโรคติดต่อนำโดยแมลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ยุวชนมีพฤติกรรมคัดแยกขยะจากต้นทางได้ถูกต้อง และลดปริมาณขยะมูลฝอย

ยุวชนมีพฤติกรรมคัดแยกขยะจากต้นทางได้ถูกต้อง และลดปริมาณขยะมูลฝอย

0.00
2 เพื่อเพิ่มเครือข่ายจิตอาสาในรุ่นยุวชนในการขับเคลื่อนประเด็นความสะอาดในชุมชน

เพิ่มเครือข่ายจิตอาสาในรุ่นยุวชนในการขับเคลื่อนประเด็นความสะอาดในชุมชน

0.00
3 เพื่อลดภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกยุงลาย และลดอุบัติการณ์ของโรคติดต่อนำโดยแมลง

ลดภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกยุงลาย และลดอุบัติการณ์ของโรคติดต่อนำโดยแมลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,400.00 0 0.00
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่ยุวชนในหัวข้อต่างๆ 0 10,600.00 -
1 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
  1. จัดกิจกรรมยุวชนจิตอาสา Big cleaning day ในวันสำคัญต่างๆ
  2. กิจกรรมสร้างยุวชนเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนโดยการละหมาดที่มัสยิด การแต่งกายที่ถูกต้อง การเลิกสูบหรี่ การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และการมีจิตอาสา
  3. อบรมให้ความรู้แก่ยุวชนในหัวข้อดังนี้ 3.1 บรรยายเกี่ยวกับคำว่าจิตอาสา และการสร้างจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนสะอาด 3.2 ความรู้การจัดการขยะในชุมชน และวิธีการสำรวจและทำลายแหล่งพันธุ์ยุงลาย
  4. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์
    4.1 ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะก่อนละหมาดวันศุกร์ 4.2 ประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์รอบชุมชน และรณรงค์เชิญชวนคัดแยกขยะ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ยุวชนมีพฤติกรรมคัดแยกขยะจากต้นทางได้ถูกต้อง และชุมชนสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอย
  2. มีเครือข่ายจิตอาสาในรุ่นยุวชนในการขับเคลื่อนประเด็นความสะอาดในชุมชน
  3. โรคติดต่อนำโดยแมลงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2562 10:40 น.