กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส ส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L6895-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 8,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศศิธร แซ่โง้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน  การวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กวัยเรียนพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธีในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆ นั้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักเห็นว่าเรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรม อาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากโดยเฉพาะเด็กก็จะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย
ทางโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของนักเรียนในโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกต้อง สามารถลดโรคฟันผุได้ในระดับหนึ่ง

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของบุตรหลาน

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันโดยให้นักเรียนมีการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

 

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยครูประจำชั้น บุคลากรด้านทันตสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้รับการรักษาด้านทันตกรรมตามความเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 88 8,780.00 1 8,780.00
22 ก.ค. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 88 8,780.00 8,780.00
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กอนุบาล 1-3 ในโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส 1.2 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุน 1.3 ประชุมครูเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็กนักเรียนอนุบาล 1 - 3 โดยครูประจำชั้นตามแนวทางการดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุข ร่วมกับ บุคลากรด้านทันตสาธารณสุขหรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 ในเรื่องอนามัยสุขภาพช่องปาก/ การส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน/ การแปรงฟันที่ถูกวิธี เป็นต้น พร้อมประเมินความรู้ผู้ปกครองก่อนและหลังการอบรม 2.3 จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันแก่นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 ทุกวัน โดยมีครูดูแลกำกับควบคุมการแปรงฟันของนักเรียน 2.4 การแปรงฟันของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 ขณะอยู่ที่บ้าน โดยมีผู้ปกครองกำกับควบคุมการแปรงฟันของบุตรหลาน
  3. ขั้นติดตามและประเมินผล 3.1 ติดตามประเมินผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - 3 โดยครูประจำชั้น/ครูอนามัยโรงเรียน
    3.2 ประสานงานกับผู้ปกครอง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก/ฟัน ได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาด้านทันตกรรมตามความเหมาะสม
  4. ขั้นสรุปและรายงานผล 4.1 สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ/รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน สามารถแปรงฟันได้อย่างถูกต้อง ปัญหาโรคฟันผุของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ลดลง
  2. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง
  3. เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันในโรงเรียน โดยนักเรียนต้องแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน
  4. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาด้านทันตกรรมตามความเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2562 16:39 น.