กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยสุขภาพช่องปากดี ยิ้มสดใส อายุยืน
รหัสโครงการ 62-L4120-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านแหร
วันที่อนุมัติ 25 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต ซาไก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ก.ค. 2562 31 ก.ค. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟัน คือปราการด่านแรกของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ฟันที่ดีและแข็งแรง จะช่วยบดเคี้ยวอาหารได้ละเอียดส่งไปสู่ลำไส้และต่อเนื่องไปถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆตามมาฟัน จึงเป็นอวัยวะอันดับต้นๆที่เราต้องใส่ใจในกลุ่มผู้สูงอายุเพราะสุขภาพช่องปากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอารมณ์และสังคมโดยเฉพาะความรู้สึกเจ็บปวดจากการสำรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต พบว่าร้อยละ 90 พบการสูญเสียฟันอย่างชัดเจน การสูญเสียฟันมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 10 ซี่ / คน และโรคปริทันต์อักเสบร่วมร้อยละ 62 อาจ กล่าวได้ว่าผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร ดังนั้นฝ่ายทันตกรรม รพ.สต ซาไก จึงเห็นความสำคัญถึงปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุและมีความจำเป็นผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมป้องกันดรคในช่องปากที่เหมาะสม มีประสิทธิผลเพือลดการสูยเสียฟันอย่างเป็นระบบทั้งการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองการรับบริการส่งเสริมป้องกันตามชุดสิทธิประโยชน์ร่วมไปกับการรักษาและส่งต่อเพื่อพิมพ์ปากใส่ฟันเทียมในระบบบริการปกติซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากดีอารมณ์ดีมีความสุขและมีคุรภาพชีวิตจนตลอดอายุขัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

แก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ในกลุ่มผู้สูงอายุ

ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ในกลุ่มผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

สร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

0.00
4 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง  ร้อยละ 80

0.00
5 5.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

0.00
6 6.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโชน์

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโชน์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 - 31 ก.ค. 62 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้สูงอายุเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตัวเองอย่างถูกวิธี 50 10,000.00 10,000.00
รวม 50 10,000.00 1 10,000.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประสานงานหน่วยงานต่างๆ องค์กร ชุมชนบุคคลที่เกี่ยวข้องประชุมชี้แจงโครงการ 2.จัดทำโครงการฯเพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3.ดำเนินงานตามโครงการฯ ขั้นดำเนินการ ดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ 1.1 อบรมกลุ่มเป้าหมาย 1.2 จัดกิจกรรมดังนี้ - ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของกลุ่มเป้าหมาย - ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ฟัน เหงือก และฟันเทียม - แจกชุดอุปกรณ์การดูแลทำความสะอาดสุขภาพช่องปากและฟัน - สาธิตวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก ฟัน เหงือก และฟันเทียม - ประเมินความรู้/ปฏิบัติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุน้อยลง 2.อัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ในกลุ่มผู้สูงอายุลดลง 3.ชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการแก้ไขสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมากขึ้น 4.ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างถูกวิธี 5.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 6.ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2562 10:53 น.