กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวควนกบ เสริมสร้างความรู้ ลดภัยร้ายจากโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นักศึกษาฝึกงานคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 ตุลาคม 2562 - 8 พฤศจิกายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2562
งบประมาณ 6,272.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นักศึกษาฝึกงานคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งเลียบ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.83,100.313place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเรื้อรังกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เกิดจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาดรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้อายุที่เพิ่มขึ้นมักมาพร้อมกับโรคเรื้อรัง จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปี 2561 พบว่า การเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังมีจำนวนถึงร้อยละ 75 หรือประมาณ 320,000 คนต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 37 คน โดยอันดับที่หนึ่งของโรคเรื้องรังที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต คือโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 4.59 หรือประมาณ 28,000 คน รองลงมาคือโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีรสหวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็ม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น (ปิยะสกล, 2561)     จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งเลียบ (1 มิ.ย. 61 - 1 ก.ค. 62) พบว่าประชากร หมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นมากที่สุด โดยมีจำนวนผู้ป่วย 64 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคร้อยละ 24.15 รองลงมาได้แก่ โรคเบาหวาน มีจำนวนผู้ป่วย 24 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคร้อยละ 9.05 นอกจากนี้จากการสำรวจเเละสังเกตพฤติกรรมของตัวแทนครัวเรือน จำนวน 48 ครัวเรือน ในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ระหว่างวันที่ 18-22 ตุลาคม 2562 โดยใช้กรอบแนวคิดทางระบาดวิทยา (Dever’s Model) พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานเครื่องดื่มรสหวาน เช่น ชา กาแฟทุกเช้า คิดเป็นร้อยละ 40 และยังมีบางส่วนที่รับประทานอาหารไขมันสูงและอาหารรสเค็มเป็นประจำ นอกจากนี้ผลจากการทำประชาคม เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 พบว่าปัญหาโรคเรื้อรังเป็นปัญหาลำดับแรกที่ชุมชนต้องการจัดโครงการแก้ไขปัญหา โดยมีผู้เห็นด้วย 8 คน จากผู้เข้าร่วม 22 คน คิดเป็นร้อยละ 36.36
  จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการแก้ปัญหาโรคเรื้อรังในชุมชน จึงจัดโครงการ “ชาวควนกบ เสริมสร้างความรู้ ลดภัยร้ายจากโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง) ” ซึ่งประกอบด้วย การคัดกรองภาวะสุขภาพ การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และโทษของบุหรี่ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและป้องกันโรคเรื้อรังที่ชุมชนสามารถปฏิบัติได้ ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำโครงการในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสร้างเสริมและการป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมายของประชาชนในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา มีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่ถูกต้อง และเห็นถึงผลกระทบของบุหรี่ต่อสุขภาพ 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม

เป้าหมายข้อที่ 1 ร้อยละ 20 ของประชาชนที่อายุ 35 ปี ขึ้นไปของหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา มารับตรวจคัดกรอง ตัวชี้วัดตัวที่ 1 ประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 53 คน ประเมินผลโดย การนับจำนวนของผู้ที่เข้าคัดกรองจากรายชื่อผู้ลงทะเบียนเป้าหมายข้อที่ 2ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง) ตัวชี้วัดที่ 2
- สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง) สัดส่วนอาหาร ที่ถูกต้อง ได้อย่างน้อย 3 ใน 5 ข้อ - สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่มือ 1 มือ 2 และมือ 3 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่นได้อย่างน้อย 3 ใน 5ข้อ ประเมินผลโดย ให้ผู้เข้าร่วมโครงการตอบคำถามด้วยการยกมือเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง) สัดส่วนอาหารและผลกระทบของบุหรี่มือ1 มือ2และมือ3 ที่ส่งผลต่อสุขภาพ -สามารถสาธิตย้อนกลับจากการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืด ของผู้ร่วมโครงการได้ 4 ท่า จาก 6 ท่า ประเมินผลโดย การสังเกตการสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืดของผู้เข้าร่วมโครงการ

เป้าหมายข้อที่ 3 ร้อยละ 80ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการได้รับบริการวิชาการโดยรวมในระดับมาก ตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความพึงพอใจอยู่ระดับมาก ประเมินผลโดย การลงคะแนนโดยการแปะสติกเกอร์ลงในกระดาษ Flip chart ตามระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กำหนดการการดำเนินงาน
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 (กิจกรรมคัดกรองสุขภาพ) บริเวณโรงเรียนบ้านควนกบและมัสยิดยาบัลเราะฮ์มะห์ 10.30 - 15.00 น.  - แจกบัตรบันทึกข้อมูล             - คัดกรองภาวะสุขภาพ ประกอบไปด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและสอบถามการสูบบุหรี่             - บันทึกข้อมูลสุขภาพและประเมินผลโดยการแจกบัตรความเสี่ยงในบุคคลที่มี ความเสี่ยงในภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลสูงและน้ำหนักเกิน
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 (จัดทำโครงการ) บริเวณมัสยิดยาบัลเราะฮ์มะห์ 13.00 - 13.30 น.  - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 13.30 – 13.40 น.  - ประธานนักศึกษาโครงการ นายวรกานต์ แสงเพ็ชร กล่าวรายงานโครงการ 13.40 – 13.50 น.  - พิธีเปิดโครงการโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลทุ่งเลียบ 13.50 – 14.00 น.  - นำเข้าสู่โครงการโดย นางสาววัลยา บูเกะโตง
14.00 – 15.30 น.  - กิจกรรมหมุนเวียนทั้งหมด 4 ฐาน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็นกลุ่มๆ และ หมุนเวียนทำกิจกรรมในแต่ละฐาน จนครบทั้ง 4 ฐาน ใช้เวลาฐานละประมาณ 20-25 นาที
* หมายเหตุ : ผู้ที่เข้าร่วมการคัดกรองในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ให้ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ฐานที่ 2 เป็นต้นไป             - ฐานที่ 1 จุดคัดกรองภาวะสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ประเมินค่าน้ำตาลในเลือดและสอบถามการสูบบุหรี่ ในกลุ่ม ผู้เข้าร่วมโครงการที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562             - ฐานที่ 2 “กินอย่างไรห่างไกล เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง”ดูวิดีโอพฤติกรรม การรับประทานอาหารของคนในชุมชน กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการรับ ประทานอาหารที่เหมาะสมเฉพาะโรค เช่น เบาหวาน ความดัน และสัดส่วนอาหารที่ เหมาะสม และประเมินผลหลังทำกิจกรรมโดยการยกมือตอบคำถาม
            - ฐานที่ 3 “ร่างกายฟิตพิชิตโรค”กิจกรรมให้ความรู้และสาธิตเกี่ยวกับการออกกำลัง กายโดยการใช้นวัตกรรมยางยืด “ยืดอีกนิดพิชิตโรค”และประเมินผลหลังทำ กิจกรรมด้วยการให้ผู้เข้ากิจกรรมสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยยางยืด             - ฐานที่ 4 “บุหรี่ร้าย ภัยใกล้ตัว” กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของบุหรี่มือ 1,2 และ 3 ต่อสุขภาพและแสดงสิ่งประดิษฐ์สารพิษในควันบุหรี่ ประเมินผลหลังทำ กิจกรรมโดยการยกมือตอบคำถาม
15.30 – 15.45 น.    - ประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการโดยการแปะสติกเกอร์ลงในกระดาษ Flip chart ตามระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และสุ่มแจกแบบ ประเมินความพึงพอใจการให้บริการทางวิชาการ
15.45 – 16.00 น.    - พิธีปิดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประชาชนในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
- ประชาชนในหมู่ที่ 7 บ้านควนกบ ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง - อัตราการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2562 13:49 น.