กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยาซินสาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4758 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์เมื่อปี 2559ที่ผ่านมาอำเภอเมืองปัตตานีมีการระบาดที่ค่อนข้างสูงในระดับต้นๆของจังหวัดปัตตานีสำหรับตำบลกะมิยอมีการระบาดที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบในระดับของอำเภอ มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 18 ราย เทียบเป็นอัตราป่วย 408.35 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยที่สูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชนโรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2560

 

2 เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน

 

3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการ/เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการฯ ๒. ประชุมผู้นำชุมชน ,อาสาสมัครสาธารณสุข ทุกหมู่บ้าน และเยาวชน เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ ๓.ดำเนินการให้บริการพ่นหมอกควันและแจกจ่ายทรายอะเบทให้แต่ละครัวเรือนในพื้นที่ที่มีการระบาด 4.รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน ศพด. มัสยิด 5. สรุปผลการดำเนินงานของเครือข่ายเฝ้าระวัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
  2. ค่า HI, CI ไม่เกิน 10(ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ HI, ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำ CI)
  3. มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2560 08:56 น.