กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผมสวยไร้เหาในเด็กนักเรียน ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ส่วนสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีนี กูวิง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียน ระดับก่อนประถมและประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่คลุมฮิญาบทำให้ผมอับชื้น มีความเสี่ยงที่เกิดโรคเหามากขึ้น โรคเหาเป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป และยังทำให้สุขภาพไม่ดี สร้างความรำคาญแก่ผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะ และการรักษาโรคเหาปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมี ซึ่งเมื่อใช้อย่างต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงได้จัดทำโครงการผมสวยไร้เหาในเด็กนักเรียนด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมารักษาเด็กนักเรียนในตำบลกะมิยอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดเหาในวัยเด็ก ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ

 

2 เพื่อให้เด็กนักเรียนหญิงสามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองได้ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการ สปสช. อบต.กะมิยอ
  2. ประสานงานกับโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สื่อต่างๆที่ใช้ในการอบรม
  4. จัดทำโครงการตามกำหนดการ
  5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนสามารถดูแลรักษาความสะอาดของตัวเองได้
  2. จำนวนเหาที่อยู่ในผมเด็กวัยเรียนลดลง
  3. เด็กนักเรียนมีความรู้ถึงประโยชน์ในเรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 15:16 น.