กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมรัก เสริมภูมิคุ้มกัน เด็ก 0-4 ปี ด้วยวัคซีนป้องกันโรค ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 325 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัคซีนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของประชาชน  ประเทศไทยใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 2520  ด้วยการจัดตั้งแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายและผสมผสานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขในระบบปกติ  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการเพิ่มชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น  เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน  จนปัจจุบันมีวัคซีนทั้งหมดรวม  11 ชนิด รวมทั้งเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อให้ประชากรไทยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง
จากรายงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดตรัง ปี 2562  พบว่าเทศบาลเมืองกันตัง ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็กอายุครบ 1 ปี ที่ได้รับวัคซีน BCG , HBV1, DTP-HBV3,โปลิโอ3, MMR1, IPV ได้ร้อยละ100 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 2ปี ที่ได้รับวัคซีน DTP4- โปลิโอ4, JE1 ได้ร้อยละ 98.72, 98.72 ตามลำดับ ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 3 ปีที่ได้รับวัคซีน JE2, MMR2 ได้ร้อยละ 98.63, 98.63 ตามลำดับ ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 5 ปีที่ได้รับวัคซีน DTP5,โปลิโอ5 ได้ร้อยละ78.79 โดยเกณฑ์การได้รับวัคซีนในกลุ่มวัยต่างๆต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 95 เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคติดต่อด้วยวัคซีนแก่เด็กอายุ 0-4 ปี ให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด อันจะอัตราการป่วย/ตายด้วยโรคติดต่อ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสามารถลดลงได้ระดับหนึ่ง  อีกทั้งเสริมสร้างภูมิ คุ้มกันโรคให้เด็กไทยห่างไกลจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็งสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0 - 4 ปี ในเขตเทศบาล ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์

ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์ในเด็ก 0-4 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยและการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

อัตราการป่วยและการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง

0.00
3 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสามารถ เป็นเครือข่าย ในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 19,900.00 2 19,900.00
30 ม.ค. 63 กิจกรรมอบรมแกนนำสุขภาพในชุมชน 100 18,900.00 19,900.00
31 ม.ค. 63 กิจกรรมสำรวจกลุ่มเป้าหมาย/ติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีน 0 1,000.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ   1.1 ประสานแกนนำสุขภาพในชุมชน   1.2 สำรวจ ค้นหา กลุ่มเป้าหมายอายุ 0 - 4 ปีทีอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล   1.3 จัดทำแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/เสนอแผนงานต่อกรรมการกองทุนฯเพื่ออนุมัติ
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   2.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ   2.3 เตรียมแบบประเมิน เพื่อประเมินความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม
      2.4 อบรมแกนนำสุขภาพในชุมชนให้มีความรู้ในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จำนวน 100 คนพร้อมแจ้งแกนนำสุขภาพในชุมชนร่วมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
      2.5 จัดเตรียมเบิกวัคซีนที่จะให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายจากโรงพยาบาลกันตัง   2.6 บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่กลุ่มเป้าหมาย     2.6.1 เชิงรับให้บริการวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน     2.6.2 เชิงรุกจัดทำแผนปฏิบัติงาน/ลงพื้นที่ในการให้วัคซีนแก่เด็กด้อยโอกาสในชุมชนตามความจำเป็นทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน   2.7 เจ้าหน้าที่ร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน ติดตามเด็กที่พลาดนัดไม่ได้รับวัคซีนให้มารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์/ติดตามรวมทั้งหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนกรณีที่รับจากสถานบริการอื่นๆ   2.8 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆเชิญชวนให้ผู้ปกครองนำกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนตามเกณฑ์   2.9 ติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็กกลุ่มเป้าหมายที่ไปรับบริการสถานบริการอื่นๆ
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล   3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 - 4 ปี ในเขตเทศบาลได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ร้อยละ 95
  2. อัตราการป่วยและการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเขตเทศบาลเมืองกันตังลดลงในระดับหนึ่ง
  3. แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 11:36 น.