กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน
รหัสโครงการ 63-L4152-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 สิงหาคม 2563 - 28 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรีย์ อับดุลคานาน
พี่เลี้ยงโครงการ นายอามีน มาโซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 ส.ค. 2563 28 ส.ค. 2563 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคพืชผักที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากผู้ที่รับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน  แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิม โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน  ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงจากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอและรับประทานผักที่ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดจากสารพิษตกค้าง และเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนและนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน   ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกอตอตือร๊ะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน และเป็นการสร้างกระแสกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้หันมาให้ความใส่ใจกับการปลูกและบริโภคผักที่ปลอดภัยกันมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อเรื้อรังแล้ว ยังช่วยลดการได้รับสารปนเปื้อนจากผักที่มีขายตามท้องตลาดอีกด้วย และยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองในครัวเรือน

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองในครัวเรือน

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยการเลือกกินผักปลอดสารพิษ

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยการเลือกกินผักปลอดสารพิษ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 45,000.00 0 0.00
27 - 28 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 130 45,000.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้
    3. ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
      1) ปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก 2) การปลูกพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี 3) สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 4) การนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์ 5) สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
    4. ประเมินผลและรายงานสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประทานผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองในครัวเรือน
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองและเลือกกินผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 11:11 น.