กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-01-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 19,900.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคหัวใจและหลอดเลือด คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตัน หรืออาจเสี่ยงถึงขั้นเส้นเลือดแตก โดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่า ในทุก ๆ 2 วินาที จะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน องค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ.2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี 150,000 ราย โรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศ ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น จากข้อมูลระบบสุขภาพ เขต 12 จ.ตรัง ปี 2562 มีรายงานว่า ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบที่ยังไม่ป่วยด้วย CVD ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) จำนวน 451 คน พบว่า ผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ (< 10%) จำนวน 359 คน รองลงมาคือ เสี่ยงปานกลาง (10 ≤ 20 %) จำนวน 78 คน เสี่ยงสูง (20 ≤ 30 %) จำนวน 14 คน ตามลำดับ เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลป้องกันผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ป้องกันการเกิดความพิการหรือสูญเสียชีวิตได้ในระดับหนึ่ง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และจำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย
  2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการป้องกันเกิดโรค หลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/ อัมพาต) หัวใจ โรคไตวาย
  2. อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 8%

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 17 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง โรคความดันโลหิตสูงกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง การสร้างเกราะป้องกันภัยห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยายเรื่อง การประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้ ฐานที่ 1 กินยาถูกต้อง ถูกวิธี...ลดโรคแทรกซ้อน ฐานที่ 2 ปรับเปลี่ยนอาหาร...ลดโรคแทรกซ้อน ฐานที่ 3 สมาธิบำบัด (SKT)...ลดโรคแทรกซ้อน ฐานที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ...ลดโรคแทรกซ้อน
  • ตอบข้อซักถามและสรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปวยโรคความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตังและที่มีผลการคัดกรอง CVD Risk ≥ 10 % และผู้ป่วยที่รับบริการที่คลินิก โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน จำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อน การประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง การสร้างเกราะป้องกันภัยห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พร้อมแบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 กินยาถูกต้อง ถูกวิธี...ลดโรคแทรกซ้อน ฐานที่ 2 ปรับเปลี่ยนอาหาร...ลดโรคแทรกซ้อน ฐานที่ 3 สมาธิบำบัด (SKT)...ลดโรคแทรกซ้อน และฐานที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ...ลดโรคแทรกซ้อน
  2. มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบกลับใบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 64 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82.2 มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านวิทยากรและกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 87.4 รองลงมาคือ ด้านความรู้ ความเข้าใจ มีความพึงพอใจมากคิดเป็นร้อยละ 82 เช่นเดียวกับด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร มีความพึงพอใจมาก และด้านการเตรียมความพร้อม มีความพึงพอใจมากเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 81,80 ตามลำดับ ความคิดเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติม ควรจัดโครงการเช่นนี้อีกในปีถัดไป

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตังและที่มีผลการคัดกรอง CVD Risk ≥ 10 % และผู้ป่วยที่รับบริการที่คลินิก โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน จำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อน การประเมินความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การสร้างเกราะป้องกันภัยห่างไกลโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พร้อมแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่  ฐานกินยาถูกต้อง ถูกวิธี...ลดโรคแทรกซ้อน
                    ฐานปรับเปลี่ยนอาหาร .....ลดโรคแทรกซ้อน
                    ฐานสมาธิบำบัด (SKT).... ลดโรคแทรกซ้อน
                    ฐานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ... ลดโรคแทรกซ้อน 2. มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบ กลับใบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 64 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่  มีระดับความพึงพอใจโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82.2 มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านวิทยากรและกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 87.4 รองลงมา คือด้านความรู้ ความเข้าใจ มีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 82 เช่นเดียวกับด้านสถานที่ /ระยะเวลา/อาหาร มีความพึงพอใจมาก และด้านการเตรียมความพร้อม มีความพึงพอใจมากเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 81 , 80 ตามลำดับ
3. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง และติดตามเยี่ยมฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ จำนวน 9 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และจำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 8 %
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 81
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 81
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และจำเป็นในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์/อัมพาต)  โรคหัวใจ  โรคไตวาย (2) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภัยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด