กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเทศบาลเมืองกันตัง ร่วมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษา ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 ธันวาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 26,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทิพย์มณี บุญไพฑูรย์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 284 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพครั้งที่ 8 พ.ศ 2560 พบว่าปัญหาด้านทันตสุขภาพในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และจากการสำรวจล่าสุดในครั้งที่ 7  ปี 2555 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 51.7 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 78.5 มีประสบการณ์ฟันน้ำนมผุส่วนเด็กวัยเรียนและเยาวชนอายุ 12 ปี และ 15 ปี พบว่า ร้อยละ 52.3 มีประสบการณ์การเกิดโรคฟันแท้ผุ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบตรงต่อภาวะปริทันต์ของเด็ก คือการแปรงฟัน โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2559 พบว่า เด็กช่วงอายุ 12 ปี ร้อยละ 70 มีพฤติกรรมกินขนมกรุบกรอบ และกินเฉลี่ยวันละ 1 ครั้ง พฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียน และปัญหาฟันผุนำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็ก และอาจสะสมจนต้องสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา ปัญหาด้านทันตสุขภาพจึงยังเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของเด็กและการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง จึงได้ดำเนินโครงการ “เทศบาลเมืองกันตัง ร่วมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษา ปี 2563” เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปากในระดับประถมศึกษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ

 

0.00
4 เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 284 26,540.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 284 26,540.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายนักเรียนระดับประถมศึกษา ข้อมูลจากโรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส /โรงเรียนเทศบาลบ้าคลองภาษี ปีการศึกษา 2562 1.2 จัดทำแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกอง 1.3 เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 วางแผนการดำเนินการ จัดเตรียมอุปกรณ์ 1.5 ประสานงานทีมทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลกันตัง/โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ตรวจสุขภาพช่องปากและคัดกรองปัญหาทันตสุขภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา 2.2 ให้บริการด้านทันตกรรมนักเรียนเข้ารับบริการทาฟลูออไรด์วานิช และเคลือบหลุมร่องฟัน และบริการอื่นๆ ตามความจำเป็น 2.3 อบรมให้ความรู้ด้านการดูแลทันตสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา  โรงเรียนละ 2 วัน แบ่งเป็นช่วงชั้น 1-3 และ 4-6
  3. ขั้นติดตามและประเมินผล 3.1 ติดตาม/ประเมินผลการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย
  4. ขั้นสรุปและรายงานผล 4.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
  2. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น อัตราการเกิดโรคฟันแท้ผุลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 13:26 น.