กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมบริโภคตามหลักโภชนาการโดยเครือข่ายสุขภาพ หมู่ที่ 2 ตำบลตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ปี 63
รหัสโครงการ 63-L3065-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.2 ต.ตุยง
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.2 ต.ตุยง
พี่เลี้ยงโครงการ มะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832841,101.167717place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
90.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็น เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้การปลูกฝังให้คนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเองมีพลานามัยสมบูรณ์รักสะอาดปราศจากโรค มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ดังนั้นทางชมรม อสม.ม.2 ได้เล็งเห็นถึงปัญหาในเรื่องการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์อาหารสำเร็จรูปอาหารขยะ ฯลฯทำให้เกิดโรคภัยต่างๆซึ่งนอกจากนี้ยังพบปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการแล้วยังพบว่าการเจ็บป่วยค่อนข้างมากเช่น การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอน้ำหนักน้อยดังนั้นจึงได้จัดทำส่งเสริมสุขภาพการบริโภคตามหลักโภชนาการเพื่อสุขภาพของคนในชุมชน หมู่ที่ 2 ตำบลตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี โดยมุ่งเน้นการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น เมนูอาหารพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร

50.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญในการบริโภคและบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 220 14,450.00 4 14,450.00
1 ก.ค. 63 คัดกรองภาวะโภชนาการในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ 100 2,750.00 2,750.00
8 ก.ค. 63 พัฒนาศักยภาพประชาชน อบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนากร 60 10,200.00 10,200.00
28 ส.ค. 63 จัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อขับเคลื่อนกระบวนดำเนินงาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงประเมินดัชนีมวลกาย ของกลุ่มวัยต่างๆร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุข และกลุ่มเป้าหมาย 60 1,500.00 1,500.00
1 ต.ค. 63 สรุปและติตาม ประเมินโครงการ และจัดทำรูปเล่มส่งกองทุนฯ 0 0.00 0.00
  1. ประชุมวางแผนคณะกรรมการเพื่อจัดทำโครงการ       2. จัดทำโครงการเสนอประธานและคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตุยง       3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       4. ประสานวิทยากร       5. ประชุมสร้างความเข้าใจและกำหนดบทบาทหน้าที่       6. เตรียมกระบวนการและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม       7. พัฒนาองค์ความรู้ เรื่องการบริโภคอาหารในแต่ละกลุ่มวัยถูกหลักโภชนาการ       8. จัดประชุมกระบวนการขับเคลื่อนในพื้นที่ในการดำเนินงาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงประเมินดัชนีมวลกาย ของกลุ่มวัยต่างๆร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุข
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร
    1. ประชาชนสามารถเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
    2. ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 13:58 น.