กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรมในกลุ่มวัยทำงาน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองวิชาการและแผนงานเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรรณา ชัยเดช
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน สภาวะการทำงาน        ที่เร่งรีบ วนเวียนอยู่กับพฤติกรรมการทำงานด้วยท่าทางซ้ำๆ ทุกวัน เป็นระยะเวลานาน และภาวะเครียด เป็นปัจจัยให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคล และหลายคนมักเป็นโรคติดงาน (Workaholic) หรือโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndromes) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน เกิดจากการนั่งทำงานตลอดเวลา โดยเฉพาะการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อน หากทำงานในอริยาบทที่ผิดจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นมีอาการ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย และอาการทางกายเหล่านี้ส่งผลถึงอารมณ์ และส่งผลเสียต่อร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมา การสร้างองค์ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมในขณะทำงาน และ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัย จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งนอกจากบุคลากรจะห่างไกลโรคแล้ว ยังส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย
กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกันตัง เห็นถึงความสำคัญของปัญหาและอันตรายที่เกิดจากโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndromes) จึงจัดทำโครงการป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรมในกลุ่มคนวัยทำงานในบุคลากรของเทศบาลเมืองกันตัง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่องสาเหตุ และการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndromes)

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มวัยทำงานเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้องค์กรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัย

 

0.00
4 เพื่อสร้างหน่วยงานต้นแบบการเรียนรู้ “ทำงานปลอดภัย ห่างไกล Office Syndromes”

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 25,000.00 2 19,590.00
8 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 50 15,000.00 9,800.00
9 ก.ค. 63 - 9 ส.ค. 63 กิจกรรมขยับกาย ป้องกันภาวะออฟฟิศซินโดรม 0 10,000.00 9,790.00
  1. เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
  2. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรมในกลุ่มวัยทำงาน ในการจัดทำแผนงานและกิจกรรม
  3. วางแผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ/เชิญชวนกลุ่มวัยทำงานเข้าร่วมโครงการฯ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดอบรม สร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ สาเหตุ และการป้องกันออฟฟิศซินโดรม (Office Syndromes) และฝึกปฏิบัติท่าบริหารร่างกายและการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสมในกลุ่มวัยทำงาน
  6. จัดซื้อชุดเครื่องเสียงอเนกประสงค์จำนวน 1 ชุด
  7. จัดกิจกรรมขยับกายช่วงเช้าเวลา 10.30 – 10.45 น. และช่วงบ่ายเวลา 14.30 – 14.45 น. ครั้งละ 15 นาที ต่อเนื่อง 6 เดือน ทุกวันจันทร์ - ศุกร์
  8. ติดตามประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการ
  9. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในเรื่องการดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรม ในด้านการออกกำลังกายและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรมและให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  4. เทศบาลเมืองกันตัง เป็นหน่วยงานต้นแบบการเรียนรู้ “ ทำงานปลอดภัย ห่างไกล Office Syndromes ”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2563 10:20 น.