กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในเด็กวัยเรียน บางปลาหมอ ปี 2563(ต่อเนื่อง)
รหัสโครงการ 63-L3065-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ
พี่เลี้ยงโครงการ แวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.861585,101.195366place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
100.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง สังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสังคมที่ไม่รู้จักพอเพียง เพื่อปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน ผลที่ตามมาทุกคนต้องทำงานอย่างหนักไม่มีเวลา ลืมในเรื่องของการดูแลสุขภาพ มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพที่เกิดขึ้น เช่น ครอบครัวขาดความอบอุ่นเนื่องจากไม่มีเวลาอยู่ด้วยกันส่งผลต่อการระบาดยาเสพติดในพื้นที่ อัตราการเกิดโรคเรื้อรังมีสูงเนื่องจากพฤติกรรมของบุคคลที่ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารสำเร็จรูป เด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเนื่องปริมาณถุงพลาสติก หรือขยะที่ย่อยสลายยากเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี ฯลฯ ภัยมืดดังกล่าวข้างต้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วม ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และต้องบูรณาการร่วมกันในพื้นที่ ทางชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ เป็นชมรมที่มีอยู่ในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งสังคมในการป้องกันและแก้ไขภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ เห็นว่าการส่งเสริมและปลูกฝังในเรื่องของกิจกรรมการออกกำลังกาย ขยับกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กๆเป็นสิ่งที่ดี สามารถเชื่อมโยงให้ผู้ปกครองหันมาออกกำลังกาย และมองเห็นปัญหาที่เกิดในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ปัจจุบันหลักๆดังนี้ 1. เด็กมีภาวะเสี่ยงอ้วนสูง เนื่องจากกินขนมประเภทแป้ง น้ำตาล เยอะ และขาดการออกกำลังกาย 2. เด็กขาดทักษะชีวิตเนื่องจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่พ่อแม่หาให้ 3. เด็กมีความก้าวร้าว โลกส่วนตัวสูง เนื่องจากโทรศัพท์ จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ จึงมองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี และมองเห็นว่าทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า มีงบประมาณที่จะสนับสนุนแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในเด็กวัยเรียน บางปลาหมอ ปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวทางกาย

ร้อยละ 80 ของเยวชนในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย

100.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
??/??/???? สร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม 0 500.00 -
??/??/???? พัฒนาองค์ความรู้ 0 8,500.00 -
??/??/???? ส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับกาย 0 3,000.00 -
??/??/???? ถอดบทเรียน สรุปกิจกรรม 0 0.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ     2. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ     3. จัดอบรมเรื่องภัยมืดที่คุกคามสุขภาพเด็กวัยเรียน     4. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็น     5. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
  2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  3. เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนในอนาคต
  4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 09:58 น.