กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการยุวชนฟันสวย ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3009-02-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนชุมชนบ้านกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันพิทยา มุสตาฟา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนชุมชนบ้านกะมิยอ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมุ่งคุ้มครอง สวัสดิภาพของประชากรไทยทุกคนให้มีสิทธิด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐ ในการจัดการให้ประชากรสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง การกำกับ ติดตามและประเมินผลระบบสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการบรรลุสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ใช่เพียงแค่การมีสุขภาพดีของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการมีสุขภาพที่เท่าเทียมถ้วนหน้าในประชากรทั้งหมด การจัดบริการสุขภาพเป็นองค์ประกอบแรกที่นำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา การอภิบาลระบบสุขภาพได้ให้ความสำคัญที่การกำกับ ติดตามอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากร เป็นประเด็นแรกโดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ทำหน้าที่อภิบาลระบบ พระราชบัญญัติดังกล่าวครอบคลุมถึงสิทธิการรับบริการทางทันตกรรมของประชากรไทยด้วย จึงมีการใช้ตัวชี้วัดหลักเรื่องการเข้าถึงบริการทันตกรรมในการติดตามประเมินการดำเนินงานของระบบบริการทันตกรรม โดยรวมถึงการเข้าถึงบริการทันตกรรมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูแต่การจัดบริการสุขภาพยังคงอาศัยแรงงานมนุษย์เป็นหลักองค์ประกอบที่สำคัญจึงหนีไม่พ้นกำลังคนด้านสุขภาพ ในส่วนของระบบบริการทันตกรรม จึงเน้นการเพิ่มจำนวนทันตแพทย์เข้าสู่บริการมาโดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังว่าจะทำให้ประชากรสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้เพิ่มมากขึ้น       เป้าหมายหลักของการจัดบริการสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการเข้าถึงบริการที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกันของประชากร อัตราการรับบริการสุขภาพจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินการดำเนินงานตามเป้าหมายดังกล่าว แต่จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศพบว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้น อัตราการใช้บริการทันตกรรมของประชากรไทยมีระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 มาโดยตลอด แม้จะมีการเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ผู้ให้บริการเข้าสูระบบบริการอย่างต่อเนื่องก็ตาม       จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 ผลการสำรวจพบว่าประชากรไทยประมาณ 5.4 ล้านคนหรือร้อยละ 8.1 ของประชากรทั้งหมดได้รับบริการทันตกรรมในช่วงเวลา 12 เดือนและจำนวนการรับบริการเฉลี่ย 0.08 ครั้ง/ปีกลุ่มอายุที่มีสัดส่วนได้รับบริการสูงที่สุด คือกลุ่มอายุ 6 – 12 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 13.5) รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 13 – 24 ปี (ร้อยละ 8.7) ส่วนกลุ่มอายุที่มีสัดส่วนการได้รับบริการน้อยที่สุดคือ กลุ่มอายุ 0 – 5 ปี หรือกลุ่มเด็กเล็ก คือเท่ากับร้อยละ 5.8 และพบว่าการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 49.6 และ46.2 ตามลำดับ โดยการมารับบริการที่สถานพยาบาลของรัฐ ยังพบว่าสถานพยาบาลระดับตติยภูมิ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลรัฐอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลมหาวิมทยาลัย มีผู้มารับบริการมากที่สุดคือร้อยละ 19.5 ในขณะที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีผู้มาบริการร้อยละ 11.6 และการรับบริการในภาคเอกชนเกือบทั้งหมดเลือกรับบริการที่คลินิกทันตกรรมสูงถึงร้อยละ 40.8       สำหรับทันตกรรมป้องกันส่วนใหญ่เป็นการตรวจสุขภาพช่องปาก เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี มีสัดส่วนผู้รับบริการมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ทั้งนี้อาจเนื่องจากประสิทธิภาพของการให้บริการอนามัยโรงเรียนที่ทำให้เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาสามารถเข้าถึงบริการทางทันตกรรมได้มากขึ้น และเมื่อจำแนกเฉพาะกลุ่มวัยยังพบว่า กลุ่มอายุ 0 – 5 ปี เป็นกลุ่มที่ได้บริการทันตกรรมน้อยที่สุด ทั้งที่เป็นช่วงวัยที่ควรได้รับบริการทันตกรรมป้องกันและส่งเสริมสุขภาพช่องปากก่อนฟันแท้ขึ้นมากที่สุด นอกจากนี้ ทันตกรรมป้องกันในช่วงวัย 0 – 5 ปี มีประสิทธิผลและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ดีกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพช่องฟันที่ดีต่อไป       จากข้อมูลการสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเข้ารับบริการทันตกรรมของคนไทย ควรมีการพัฒนาปรับปรุงนโยบายและระบบการให้บริการทันตกรรม ในด้านนโยบายการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพทันตกรรมให้มากขึ้น การขยายระบบบริการทันตกรรมให้เพียงพอมากขึ้น และการพัฒนาให้เกิดความกลมกลืนระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ รวมทั้งควรพิจารณาขยายการให้บริการให้สอดคล้องกับรูปแบบการรับบริการของประชาชน โดยต้องมีการพิจารราหลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพบริการ ขอบเขตการให้บริการ และหลักเกณฑ์การจ่ายเงินร่วมด้วย       โรงเรียนถือเป็นหน่วยงานทางการศึกษาสำคัญที่จะสามารถคัดกรองปัญหาด้านทันตกรรมในช่วงปฐมวัยตั้งแต่อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเตรียมป้องกันโรคมากกว่ารักษาโรคทันตกรรม ดังนั้น โครงการยุวชนฟันสวย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยสกัดปัญหาต่างๆ ทางด้านทันตกรรมให้ลดลง ไม่เพียงแต่เพื่อนักเรียนเท่านั้น แต่เพื่อชุมชนทั้งมวล การลงทุนในเด็กวัยเรียน เป็นการลงทุนที่มั่นคงและให้ผลตอบแทนอย่างไม่สิ้นสุด โรงเรียนชุมชนบ้านกะมิยอมีความตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการยุวชนฟันสวยขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนในตำบลกะมิยอต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนตระหนักถึงการดูแลรักษาฟันตั้งแต่วัยเรียน

นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนตระหนักถึงการดูแลรักษาฟันตั้งแต่วัยเรียน

0.00
2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียนได้มีโอกาสคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตกรรม

เจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียนได้มีโอกาสคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตกรรม

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการด้านทันตกรรม

นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการด้านทันตกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 10,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องฟัน 50 10,000.00 -
  1. ขั้นวางแผน (Plan) 1.1 ประชุมเสนอโครงการ 1.2 อนุมัติโครงการ 1.3 วางแผนการดำเนินงาน 1.4 แต่งตั้งคณะทำงาน
  2. ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) 2.1 กิจกรรม “พลังบวก” เพื่อใช้ความรู้ในการรับมือกับสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน สำหรับนักเรียน 3 ระดับชั้น 2.2 กิจกรรม “5 รั้วป้องกันยาเสพติด” เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้แก่นักเรียนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว 2.3 การจัดทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในรูปแบบที่หลากหลาย อย่างน้อย 1 กิจกรรม เช่น กิจกรรมเดินรณรงค์ กิจกรรมค่าย กิจกรรมกีฬา
  3. ขั้นรวบรวมผลงาน (Check)
  4. ขั้นสรุปผลการการจัดกิจกรรมและรายงานผล (Action)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนตระหนักถึงการดูแลรักษาฟันตั้งแต่วัยเรียน   2. เจ้าหน้าที่งานอนามัยโรงเรียนได้มีโอกาสคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตกรรม
      3. นักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการด้านทันตกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 15:40 น.