โครงการสุขภาพดี พิชิตโรค ด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพดี พิชิตโรค ด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 63-L3348-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.ในนิคมฯ บ้านลานข่อย |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 8,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรรณา ชูศิริ |
พี่เลี้ยงโครงการ | เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานข่อย |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.831,99.78place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์การถ่ายทอด และการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทย ในสมัยต่าง ๆ จนกลายมาเป็น
ระบบการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายในจิตใจ
เมื่อทบทวนกระแสพระราชดำรัสในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอดีพอควรสมเหตุสมผลและมีความสมดุลเพื่อความสุขและสุขภาพดี
เมื่อเจ็บป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสมเหตุสมผลมีภูมิคุ้มกันพึ่งพิงดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้ยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่นการใช้อาหารพืชผักผักสมุนไพร การนวดพื้นฐาน ในการประคบการนวดฝ่าเท้าการบริหารด้วยท่าฤๅษีตัด มาปฏิบัติดูแลสุขภาพคนในครัวเรือนก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่าตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียงและยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย นอกจากนี้การนวดประคบสมุนไพร การนวดเท้าและการรับประทานอาหารตามหลักธาตุเจ้าเรือนนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครัวเรือน ก็จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดสายใยรักอบอุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดีด้วย
ชมรม อสม.รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี พิชิตโรค ด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย โดยการมีส่วนร่วมจาก ชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมชุมชนผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวีถีความพอเพียงอยู่แล้ว การทำโครงการนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงบริการ การแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพร และสามารถใช้ ในชีวิตประจำวันได้ ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพร และสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
1.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง บริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ประชาชนเข้าถึง บริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น |
1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
29 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | ประชุม รณรงค์ | 0 | 8,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 8,000.00 | 0 | 0.00 |
๑. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนได้รับทราบ ๓. ออกให้บริการเชิงรุก ให้ความรู้ นวด อบ ประคบ จ่ายยาสมุนไพร เดือนละ 1 ครั้ง/หมู่ ๔. ประเมินความพึงพอใจ และสรุปจำนวนผู้มารับบริการ ในแต่ละครั้ง ๕. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
๑. ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพร และสามารถใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. ประชาชนเข้าถึง บริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2563 11:21 น.