กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละแมะนา
รหัสโครงการ 63-L2986-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 24,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพร รัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป้นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข มีการแพร่ระบาดของโรคไปทั่วทุกหมู่บ้านในประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี และพบมีผู้ป่วยสูงสุดในช่วงฤดูฝน สาเหตุที่ทำให้โรคไข้เลือดออกยังเกิดและมีการระบาดอยู่คือประชาชนขาดความรู้และความตระหนักในการป้องกันและกำจัดพาหะของโรค จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 27 สิงหาคม 2562 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 77,575 ราย เสียชีวิต 81 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ 5 - 14ปี รองลงมาคือ 15 - 34 ปี และแรกเกิด - 4 ปี ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อุบลราชธานี จันทบุรี นครราชสีมา เชียงราย และระยอง ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2562 เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานตั้งแต่ต้นปี ส่วนอัตราป่วยตายใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี 2562 พบว่า มีผู้ป่วย 820 ราย ตำบลตะโละแมะนา มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังพบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกอยู่ทุกปี   ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงมีการดำเนินโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละแมะนาขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชน 1.2 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและเครือข่ายเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 1.3 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัคร มีความรู้ และความพร้อมในการดำเนินงานควบคุมโรคที่ถูกวิธี และรวดเร็ว
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน  277.48 ต่อแสนประชากร
  2. ความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (  HI< 10 และ CI= 0 )
70.00
2 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและเครือข่ายเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัคร มีความรู้ และความพร้อมในการดำเนินงานควบคุมโรคที่ถูกวิธี และรวดเร็ว

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 24,650.00 3 24,650.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 60 10,500.00 10,500.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 100 4,500.00 4,500.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 พ่นยุงในสถานที่สำคัญ 0 9,650.00 9,650.00
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ อสม. และทีมเคลื่อนที่เร็วประจำหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 60 คน
  2. กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา (บ้าน โรงเรียน มัสยิด และหน่วยงานราชการอื่นๆ) 2.1 คว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเวณบ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 2.2 แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายให้กับประชาชน 2.3 สำรวจค่า HI CI ในชุมชน
    2.4 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ในชุมชน 2.5 ติดป้ายประชาสัมพันธ์
  3. ออกพ่นยุงในละแวกบ้านที่มีการเกิดโรคไข้เลือดออกและสถานที่สำคัญ ได้แก่ โรงเรียน มัสยิด สถานที่ราชการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. เมื่อเกิดโรคสามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2563 13:32 น.