กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L6895-01-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 127,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10560 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหู่เป่ย และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น“ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหู่เป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างจากคนไข้เหล่านี้ไปตรวจถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้มาตรการต่างๆ ในการคัดกรองประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ และรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด มีมลภาวะหรือไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการระบาดของโรคโดยรัตมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้แนวคิดในการป้องกันโรคฯ คือ “กินร้อน ข้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยและออกกำลังกาย” ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดโรค จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น โดยกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคในระดับชุมชนโดยอาศัยกลไก  แกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน เฝ้าระวังการแพร่การระบาดของโรค รณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำเวลาอยู่ในสถานที่แออัด เวลาไอจาม และสนับสนุนบทบาทหน้าที่สำคัญของแกนนำสุขภาพในชุมชน ในการทำงานเชิงรุกเข้าถึงประชาชนในพื้นที่  เพื่อให้ความรู้ในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในเขตเทศบาล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

แกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำสุขภาพชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ

ประชาชนในครัวเรือนได้รับการคัดกรองโรคและมีความรู้ในการป้องกันโรค ร้อยละ 70

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนสามารถดูแลตนเองป้องกันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 48 127,040.00 3 127,030.00
2 เม.ย. 63 กิจกรรมประชุมชี้แจง 48 4,740.00 3,180.00
2 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค 0 7,000.00 7,375.00
7 - 17 เม.ย. 63 กิจกรรมการเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน 0 115,300.00 116,475.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
  3. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
  4. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการเคาะประตูบ้าน เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ผู้แทนแกนนำสุขภาพชุมชนๆ ชุมชนละ 2 คน และคณะกรรมการชุมชนๆ ละ 2 คน ทั้ง 12 ชุมชน จำนวน 48 คน (จำนวน 1/2 วัน)
  5. จัดรณรงค์กิจกรรมเฝ้าระวัง คัดกรอง ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ, ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน เอ็กซเรย์พื้นที่ เคาะประตูบ้าน โดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ตรวจคัดกรองสุขภาพ ให้ความรู้การปฏิบัติตัวการป้องกันโรคและการกักกันหรือคุมไว้สังเกตอาการในที่พักอาศัย พร้อมติดตามอาการทุกวันจนครบ 14 วัน
  6. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน เฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ในการตรวจคัดกรองผู้มีไข้และมีอาการทางเดินหายใจ เข้าระบบส่งต่อเพื่อการรักษาต่อไป
  7. การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  8. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
  9. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน คณะกรรมการชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  2. ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2563 10:25 น.