กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร
รหัสโครงการ 63-L4120-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาตีมะห์ ปูเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.105,101.204place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 31 พ.ค. 2563 90,000.00
รวมงบประมาณ 90,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ มีรายงาน ๑๕๒ ประเทศ ๒ เขตบริหารพิเศษ ๑ นครรัฐ เรือ Diamond Princessและ เรือ Grands Princess ในวันที่ ๑๕ มีนาคม จํานวน ๑๕๗,๕๑๑ ราย มีอาการรุนแรง ๕,๖๔๙ ราย เสียชีวิต ๕,๘๔๕ ราย โดยมียอดผู้ป่วย ยืนยันในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างเนื่อง ได้แก่ จีน ๘๐,๘๔๔ ราย ฮ่องกง ๑๔๒ ราย มาเก๊า ๑๐ ราย เกาหลีใต้ ๘,๑๑๒ ราย อิตาลี ๒๑,๑๕๗ ราย อิหร่าน ๑๒,๗๒๙ ราย ฝรั่งเศส ๔,๔๙๙ ราย สเปน ๖,๓๙๑ ราย เยอรมนี ๔,๖๔๙ ราย ญี่ปุ่น ๘๒๕ ราย สิงคโปร์ ๒๑๒ ราย และไต้หวัน ๕๙ ราย และ ประเทศไทยมีการติดเชื้อลักษณะ เป็นกลุ่มก้อน ๑๑ ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม รวม ๑๑๔ ราย รายใหม่ ๑ รายและมีเสียชีวิต ๑ ราย (กรมควบคุม โรค, ๒๕๖๓) เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็น ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international Concern (PHEIC) เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด G (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๑๓ จากการประกาศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ฉบับที่ ๒/๒๕๖๓ จากคณะกิจกรรมพบปะทางศาสนา (ตับลีฆ) ที่ มัสยิด ซื้อรี ซื้อตาลิง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีจํานวนผู้เข้าร่วมกว่า 90,000 คน และต่อมาได้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) หลังจาก เข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว ทั้งนี้ ปรากฎรายงานข่าวว่ามีคนไทยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จํานวน ๑๓๒ คน รวมทั้งผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมข้างต้น ได้ตรวจผู้ป่วยในงานดังกล่าวพบว่า มีผู้ป่วย สัญชาติมาเลเซียรวม ๔๐ คน สัญชาติสิงคโปร์ ๒ คน สัญชาติบรูไน ๑๖ คน และติดเพิ่มเติมภายหลังอีก ๑ รุ่น4 คน และจํานวนคนไทยที่เข้ารวม อีก ๑๓๒ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนจาก ๕ จังหวัดชายแดนใต้ เป็นชาว จังหวัดยะลา ๓๐ คน ที่เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ และมีรายงานการเข้ารายงานตัวเพื่อคัดกรอง เพื่อตรวจหาเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COMID-๑๙) อยู่ระหว่างการกักตัวภายใน ๑๔ วัน ในภูมิลําเนาของตนเอง แม้ว่ามีความ พยายามในการควบคุมโรค โดยการตรวจจับผู้ป่วยให้ได้อย่างรวดเร็ว แยกโรค และติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกราย ทําให้การระบาดยังอยู่ในวงจํากัดในระยะที่ผ่านมา (Phase ๒) อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ประเทศไทย จะพบการระบาดในวงกว้าง ระยะที่ ๓ (Phase ๓ widespread local transmission) เป้าหมายที่สําคัญคือ ลดโอกาสการแพร่เชื่อเข้าสู่เขตเมืองและชะลอการระบาด เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ใน วงจํากัด ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลประชาชนและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัย จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙๙) ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านแหร มีความจําเป็นที่ต้องมีมาตรการ เฝ้าระวัง ป้องกัน เน้นการ ชะลอการระบาด ลดผลกระทบ และเพื่อรับสถานการณ์การระบาดในระยะที่ ๓ (Phase ๓ widespread local transmission) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อการเฝ้า ระวังและป้องกันการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๗) จึงขอความร่วมมือ จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินการตามที่กระทรวงมหาดไทยว่า ตามหนังสือกรมส่งเสริม ปกครองท้องถิ่นที่ มท ๐๘๑๔.๒/ว ๔๗๐ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การป้องกันและควบคุม การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมดําเนินและ บริหารจัดการในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดทําแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมปกครองท้องถิ่นที่ มท ๐๘๑๙.๒/ว ๔๗๐ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การป้องกันและควบคุม การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมดําเนินและ บริหารจัดการในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดทําแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และตาม ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐ เรื่อง หลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับ ท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๑๐ (๒) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้าง เสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อ ช่วยเหลือประชาชน ตามอํานาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 5 กรณี เกิดสาธารณภัยในพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน หรือไม่ก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดําเนินการช่วยเหลือประชาชน ในเบื้องต้น โดยฉับพลันทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การ บริหารส่วนตําบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ.๒๕๕๒ มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขต องค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ ข้อ(๓) ป้องกันโรคและ ระงับโรคติดต่อ พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๑๙) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล และเมืองพัทยามีอํานาจหน้าที่ในการ สาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COMID-๑๙) ที่อาจเกิดขึ้น แก่ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพที่มีความใกล้ชิดกับผู้รับบริการ เช่น ผู้บริการส่ง อาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว จึงจําเป็นป้องกันการแพร่การระบาด ในประชาชนที่ มีภาวะ เสียง จังหวัดยะลาจึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการประชาสัมพันธ์ระมัดระวัง และป้องกัน การระบาด องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านแหรจึงได้จัดทํา “โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านแหร” ด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๔ (COVID-๑๙) และการให้ความรู้การป้องกันตนเอง การสวม หน้ากาก อนามัย การล้างมือด้วยน้ําและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ แก่กลุ่มประชาชนที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการสัมผัส โรค รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การป้องกัน และเฝ้าระวังควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (COVID๑๙) รวมถึงช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพสังคม และเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนในเขตองค์การบริหาร ส่วนตําบลบ้านแหร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๔) ในเขตตําบลบ้านแหร

ร้อยละ 80 ชาวตำบลบ้านแหรเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 2019

0.00
2 ๒. เพื่อประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 11 90,000.00 3 69,875.00
1 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 1.ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 11 11,600.00 11,600.00
1 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 2.จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ป้องกัน และสนับสนุนการคัดกรองผู้ติดเชื้อ 0 67,900.00 47,775.00
1 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 3. จัดทำหน้ากากอนามัยจากผ้า และแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ 0 10,500.00 10,500.00

ระยะเตรียมความพร้อม ๑. เขียนโครงการและนําเสนอแก่ที่ประชุมคณะกรรมการ ๒.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านแหร ๓. ติดต่อวิทยากร ๔. ประสานงานกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๕. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ในการจัดกิจกรรม
ระยะดําเนินการ ๑. ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๔) ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล บ้านแหร ๒. สนับสนุนคัดกรองผู้ติดเชื้อ ในตําบลบ้านแหร 3. จัดทำหน้ากากอนามัยจากผ้า เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตตำบลบ้านแหร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในตำบลบ้านแหร ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID19) น้อยลง 2. ประชาชนในตำบลบ้านแหร สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID19) ได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2563 15:23 น.