กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและให้ความรู้การดูแลสุขภาพโดยใช้สมุนไพรล้างพิษ ครั้งที่ 3
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 29 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 37,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประภัสสร ซุ้นสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.61,100.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังจากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้น     การได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ นอกจากเกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้จัดทำโครงการติดตามการดูแลสุขภาพเกษตรกรโดยการใช้สมุนไพรล้างพิษ ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาได้มีการจัดโครงการดังกล่าวขึ้นเมื่อ พ.ศ.2560 ซึ่งได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากเกษตรกรในชุมชนได้เป็นอย่างยิ่ง ในการเจาะเลือดคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืช ตลอดจนการแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้นโดยใช้สมุนไพรในการล้างพิษและการกระจายต้นพันธุ์สมุนไพรล้างพิษสู่ชุมชน     จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรรู้จักวิธีการดูแลตัวเอง การใช้สมุนไพรล้างพิษได้ถูกวิธี ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาจึงเล็งเห็นว่าควรมีการเจาะเลือดติดตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณและโทษของสารเคมี และการปฏิบัติก่อนและหลังการสัมผัสสารเคมีต่างๆได้อย่างถูกต้อง

จากแบบประเมินความรู้ความเข้าใจจาการซักถามและแบบทดสอบก่อน-หลังการดำเนินงาน

0.00
2 เพื่อติดตามและประเมินกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สมุนไพรล้างพิษได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

จากผลการเจาะเลือดตรวจสารพิษในร่างกาย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 151 37,100.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 - อบรมให้ความรู้และทบทวนการเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้สมุนไพรล้างพิษ วิธีการล้างผักให้ปลอดภัย และความรู้เรื่องการใช้พืชสมุนไพรในการล้างพิษให้ถูกต้อง ถูกวิธีและปลอดภัย 151 28,350.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 เจาะเลือดตรวจหาสารพิษในร่างกาย 0 3,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 สนับสนุนต้นพันธุ์สมุนไพรล้างพิษ เช่น รางจืดย่านาง สมอไทยเป็นต้น 0 5,750.00 -

ขั้นตอนการเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนปฏิบัติงาน 2. จัดทำแผนกำหนดเป้าหมายและจัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายดำเนินงานในตำบลคูหา เกษตรกรที่เป็นเป้าหมายในการประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 150 คน (ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6 หมู่ละ 30 คน) 3. มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อท้องถิ่น วิทยุชุมชน เวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ประชุมอสม. ประชุมผู้สูงอายุ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  วิธีการล้างผักให้ปลอดภัย  การใช้สมุนไพรล้างพิษที่ถูกต้องและปลอดภัย ทางเลือกอื่นในการทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ทบทวนการให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้สมุนไพรล้างพิษ  วิธีการล้างผักให้ปลอดภัย และความรู้เรื่องพืชสมุนไพรล้างพิษ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. มีการตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช โดยจัดหาชุดตรวจสารพิษ และกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส 3. มีการสนับสนุนสมุนไพรต้นพันธุ์รางจืด ย่านาง และสมอไทย เพื่อล้างพิษหรือสมุนไพรอื่น ๆ สำหรับเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส 4. มีการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายในตำบลคูหา ทุกหมู่บ้าน และติดตามทุก 3 เดือน ติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปี 5. ส่งต่อในรายที่ตรวจพบผลเลือดผิดปกติ 6. สรุปผลการติดตามการตรวจหาสารเคมีหรือสารพิษตกค้างในเลือด


ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ ๑. ประเมินผลโครงการ ๒. สรุปผลโครงการ ๓. นำเสนอผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบถึงคุณและโทษของสารเคมี และการปฏิบัติก่อนและหลังการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
  2. ทราบถึงวิธีการนำสมุนไพรล้างพิษมาใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563 16:08 น.