กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 55,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 365 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จาก นโยบายและยุทธศาสตร์ สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย ในแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แห่งชาติ ฉบับที่ 2  พ.ศ.2560 – 2564 ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 12    พ.ศ. 2560–2564 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะสังคมที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ พร้อมทั้งผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข    ได้ดำเนินงาน โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพื่อเน้นการ เฝ้าระวัง ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตั้งแต่แรกเกิด - 5 ปี โดยใช้คู่มือ DSPM ในการประเมิน เฝ้าระวัง ฝึกทักษะและส่งเสริมพัฒนาการเด็ดปฐมวัย เด็กปฐมวัย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว จากบิดา มารดา คนรอบข้าง ผ่านประสาทสัมผัส  ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษาด้านการใช้ภาษา และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม หากเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยซึ่งเป็นรากฐานที่ดี  เด็กปฐมวัยจะได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่มีคุณภาพ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2563 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้แกนนำสุขภาพในชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรอบรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการ โดยใช้คู่มือการเฝ้าระวังและ ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (DSPM) สามารถประเมิน เฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการลูกได้ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กไทยมีพัฒนาการสมวัยในทุก ๆ ด้าน พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 6 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0– 6 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

0.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

1.ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0– 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม 2.ร้อยละ 90 ของ.เด็กอายุ 0 – 6 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0 - 6 ปี และสามารถดำเนินการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่

ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 - 6 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 105 55,550.00 2 55,550.00
13 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 105 28,050.00 28,009.00
15 ก.ค. 63 - 26 ส.ค. 63 กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก 0 27,500.00 27,541.00
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนเด็ก 0-6 ปีในเขตเทศบาล
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมดำเนินงาน และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM (Developmental Surveillance & Promotion Manual)
  4. จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการตรวจพัฒนาการเด็ก โดยให้แกนนำสุขภาพในชุมชน จัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยในพื้นที่ครัวเรือนรับผิดชอบ และติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ  0 - 6 ปี
  5. แกนนำสุขภาพในชุมชน ดำเนินการประเมินเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามกลุ่มอายุ 9 เดือน, 18 เดือน, 30 เดือน, 42 เดือน และอายุ 60 เดือน และบันทึกในคู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย พร้อมให้คำแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการฝึกกระตุ้นและสังเกตพัฒนาการเด็ก ภายใต้การควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  6. หากพบเด็กมีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า ประสานเจ้าหน้าที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ทราบและแจ้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปตรวจคัดกรองพัฒนาการกับเจ้าหน้าที่ และ แนะนำผู้ปกครองกระตุ้นพัฒนาการซ้ำ 1 เดือน หากยังมีพัฒนาการล่าช้า ส่งต่อโรงพยาบาลกันตังเพื่อค้นหาปัญหาต่อไป
  7. จัดซื้อชุดตรวจพัฒนาการให้แกนนำสุขภาพในชุมชน ช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้น
  8. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 - 6 ปีที่มารับบริการ
  9. สรุปผลการดำเนินการโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ
  2. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 17:08 น.