กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 37,230.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน พบมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 ราย หรือคิดเป็น 171 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยเสียชีวิต 12,000 ราย รวมทั้งมีปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน  คาดปีละ 2,200 ราย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยวัณโรคเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ, 2560) ประเทศไทยมีอัตราป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 1.3 เท่า มีผู้ป่วยที่ตรวจพบและรายงาน ร้อยละ 59 ของที่คาดประมาณเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงการที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเข้าถึงการรักษาล่าช้าหรือเข้าไม่ถึง ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชน และทำให้แต่ละปีอัตราป่วยคาดประมาณลดลงได้เพียงช้า ๆ เท่านั้น  ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการดำเนินงานในทิศทางใหม่    เพื่อสามารถยุติปัญหาวัณโรคอย่างจริงจัง ก่อนที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมและรักษาด้วย  ยาสูตรพื้นฐานได้ วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องควบคุมตามหลักการควบคุม  วัณโรคโดยเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและนำเข้าสู่การดูแลรักษาให้หายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษา มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยาต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System)  ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือ บุคคลในครอบครัว เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการการป้องกันและควบคุมโรค  วัณโรค จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค และสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาวัณโรคให้ลดน้อยลง โดยค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้แพร่กระจายและติดต่อผู้อื่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค

แกนนำชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อควบคุม และป้องกันการระบาดของโรควัณโรค ในชุมชน

ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของวัณโรคร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2110 37,230.00 3 37,230.00
3 ส.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 105 32,350.00 31,704.00
4 ส.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง 2,000 4,880.00 5,526.00
7 ส.ค. 63 กิจกรรมติดตาม/เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 5 0.00 0.00
  1. เสนอแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ชี้แจงนโยบายเร่งรัดหยุดยั้งวัณโรคแก่แกนนำสุขภาพชุมชน
    3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่แกนนำสุขภาพชุมชน เกี่ยวกับโรควัณโรค การค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยวัณโรค/การเป็นพี่เลี้ยงกำกับดูแลการกินยาของผู้ป่วยวัณโรค และประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
  3. คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง โดย แกนนำสุขภาพชุมชน เพื่อรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
  4. ติดตามและให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน เพื่อป้องกันการกินยาไม่ต่อเนื่องและควบคุมโรคไม่ให้ระบาดต่อไป
  5. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน โดย เจ้าหน้าที่และแกนนำสุขภาพชุมชน เยี่ยมอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่
  7. ประเมินผล/สรุปผล การดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพชุมชน มีความรู้และทักษะการคัดกรองวัณโรค
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรคและมีความรู้ในการป้องและสังเกตอาการของโรควัณโรค
  3. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการติดตามรักษาจนครบ และได้รับการรักษาทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 17:11 น.