กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L6895-01-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 47,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการสาธารณสุขได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเราสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น การส่งเสริมสุขภาพเป็น  วิธีสร้างความเข็มแข็งแก่สังคมไทย โดยมุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานสาธารณสุขที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกสถานที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้
โรงเรียนเป็นสถาบันการสร้างเสริมสุขภาพที่สำคัญ เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนในโรงเรียนและชุมชนร่วมกัน จัดโครงสร้างและประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาพของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และชุมชนนั้นๆ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชน เป็นตัวแทนเพื่อกำหนดความต้องการและแนวทางในการแก้ปัญหา การพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป ให้เกิดการประสานเอื้ออำนวยประโยชน์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีพร้อมต่อการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
เด็กวัยเรียนและเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในกาพัฒนาประเทศ ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีพุทธศักราช 2522 “เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธํารงรักษาความสุขสงบของประชากรโลก” การลงทุนกับเด็กจึงคุมคามากกวา การลงทุนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเด็กที่มีคุณภาพจะนําไปสูการเปนผูใหญที่มีคุณภาพ  และผูใหญที่มีคุณภาพก็ตองมาจากวัยเด็กที่ไดรับการพัฒนาอยางถูกตองเหมาะสมดวยเชนกัน (สํานักสงเสริมสุขภาพ, 2554) สภาพสังคมและสิ่งแวดลอมในปจจุบันที่มีการพัฒนาดานเทคโนโลยี การสื่อสาร ทำใหเด็กวัยเรียนและเยาวชนไดรับคานิยมและวัฒนธรรมตะวันตก เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดํารงชีวิตอยางมากมาย สงผลตอพฤติกรรม เกิดการเลียนแบบนําไปสูปญหา ตางๆ ทั้งตอตัวเด็กเอง ครอบครัว และสังคม
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียน  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียนขึ้น  เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์      มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เติบโตสมวัย ฉลาดเลือกและรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลก และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว
  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
0.00
2 เพื่อควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 100 นักเรียนชั้น ป.1 ขึ้นไปได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด/สัปดาห์

0.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้นักเรียนมีสุขภาพดี
  1. ร้อยละ 100 นักเรียนชั้น ป.1 - ป.4 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุขและนักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
0.00
4 เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในเด็กวัยเรียน
  1. ร้อยละ 100  นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง
  2. ร้อยละ 100 นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการรักษาเบื้องต้น หรือส่งรักษาต่อ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 85 47,850.00 3 39,600.00
23 ก.ค. 63 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการครูอนามัยโรงเรียนและนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพและเยาวชนสาธารณสุข 85 8,950.00 14,250.00
1 - 8 ส.ค. 63 กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน 0 8,000.00 5,850.00
1 ก.ย. 63 กิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง 0 30,900.00 19,500.00
  1. ประสานงานกับโรงเรียนที่รับผิดชอบ และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่ครูอนามัยโรงเรียนและนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพและเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนจำนวน 85 คน
  4. จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน ป.1-ป.4 เป็นรายบุคคล  และแนะนำการตรวจสุขภาพโดยใช้แบบตรวจสุขภาพด้วยตนเองแก่นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไป  และให้ความรู้แก่นักเรียนและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องพร้อมให้การรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ
  5. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ดังนี้

- ให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่นการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก - ประเมินภาวะโลหิตจางโดยการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว 10% ของนักเรียนของโรงเรียนรับผิดชอบ 4 โรง - จ่ายยาเม็ดธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 รับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 32 สัปดาห์ - จ่ายยาถ่ายพยาธิอัลเบนดาโซน (200 มก.) แก่ชั้น ป.1–ป.6 รับประทานคนละ 2 เม็ด/ปีการศึกษา 6. ให้การรักษา/คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ และส่งรักษาต่อพร้อมทั้งจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน 7. ตรวจคัดกรองสายตานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน และส่งต่อนักเรียนที่มีภาวะสายตาผิดปกติ 8. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เติบโตสมวัย ฉลาดเลือกและรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลก และเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว
  2. สามารถควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเรียนได้
  3. นักเรียนมีสุขภาพดี
  4. เด็กวัยเรียนมีการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 17:14 น.