กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เสริมพลัง ปรับเปลี่ยนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6895-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศุนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายประสิทธิ์ แพใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหัวใจและหลอดเลือดคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตันหรืออาจเสี่ยงถึงขั้นเส้นเลือดแตกโดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่าในทุก ๆ 2 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คนองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ.2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี 150,000 รายโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศปัจจัยด้านพฤติกรรมเช่นการออกกำลังกายอาหารการสูบบุหรี่ดื่มสุราและปัจจัยทางกายภาพเช่น ความดันโลหิตระดับไขมันในเลือดและเบาหวานปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกันซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น จากข้อมูลระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จ.ตรัง ปี 2559พบว่า ในเขตเทศบาลเมืองกันตังมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน189คนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 34 คน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 127 คนและมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมองร้อยละ 4.26มีภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 2.88และจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดปี 2559(CVD Risk)ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงพบว่าผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ(< 10%)จำนวน 489 คนรองลงมาคือเสี่ยงปานกลาง (10 ≤ 20 %) จำนวน321 คนเสี่ยงสูง (20 ≤ 30 %) จำนวน222 คนเสี่ยงสูงอันตราย (≥ 40 %)จำนวน 171 คนและเสี่ยงสูงมาก (30 ≤ 40 %) จำนวน126 คน ตามลำดับทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจึงได้จัดทำโครงการ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2560ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในระดับหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ มีความเข้าใจ เกิดความตระหนักถึงการป้องกันเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ /อัมพาต)โรคหัวใจโรคไตวาย

 

2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/ อัมพาต) หัวใจ ไตวายในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)โรคหัวใจโรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 10 %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
  2. เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. วางแผนการดำเนินงาน/ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และคัดเลือกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางถึงสูงเข้ารับการอบรม
  6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีผลการคัดกรอง CVD Risk ≥ 20 % เกี่ยวกับการป้องกันเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) โรคหัวใจ โรคไตวาย พร้อมแบ่งกลุ่มเข้าฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  7. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ หรือติดตามเยี่ยมฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการป้องกันเกิดโรค หลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์/ อัมพาต) หัวใจ โรคไตวาย
  2. อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) หัวใจ โรคไตวาย ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 10%
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 10:55 น.