กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย...ใส่ใจข้อเข่า ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6895-02-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชารัตน์ มณีศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยใช้เวลาเพียง 20 ปี ซึ่งเร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เวลาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประมาณ 60 ปีขึ้นไป ประชากรสูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ.2548มีผู้สูงอายุจำนวน6.7 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 10.3 และจะเพิ่มเป็นอีก 2 เท่าตัวในปี พ.ศ.2568 เป็น 14 ล้านคน หรือร้อยละ 20ของประชากร และในปี พ.ศ.2573 ไทยจะมีประชากรสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากร หรือกว่าร้อยละ 25 ของประชากรการที่อายุยืนยาวขึ้นของผู้สูงอายุส่งผลกระทบทั้งในด้านปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัญหาการได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อมและปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และจากการศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาปวดข้อเข่า ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 43.95 ส่วนใหญ่อาการปวดข้อเข่ามีสาเหตุมาจาก ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาปวดข้อเข่าทำ ให้ผู้สูงอายุ เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุลดลงเป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการ ปวดที่ไม่เหมาะสมความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเอง ถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวดท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะบรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การบริหารแบบไทยท่าฤาษีดัดตนที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายหรือการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า มีผลในการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการเดิน และลดความเจ็บปวดลงได้ผู้สูงอายุเมื่อมีอาการปวด จะไม่ขยับข้อข้างที่ปวด ส่งผลให้ไม่ออกกำลังกายหรือบริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออาการปวดหรือความ รุนแรงของโรคก็จะมีผลต่อความสามารถของผู้สูงอายุด้วย ดังนั้นทางชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการด้วยรักและใส่ใจผู้สูงวัย ไม่ปวดเข่าปี 2560เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้รับการดูแลรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100ได้รับการตรวจคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันหรือชะลอโรคข้อเสื่อม

มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุม/ประชาคมแก่สมาชิกชมรมผู้สูงออายุ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ชี้แจงการดำเนินงานแก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ/ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายโดย
    • ตรวจประเมินโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้แบบคัดกรองข้อเข่าเสื่อมรายบุคคล
    • ให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อม การบริหารข้อเข่าชะลอป้องกันโรคข้อเสื่อม การสาธิตการพอก สมุนไพรหรือทำลูกประคบสมุนไพร
  6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ได้รับการคัดกรอง/ประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้สามารถดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันหรือชะลอโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 16:55 น.