กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนป่าไม้ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กายจิตแข็งแรง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6895-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.ชุมชนป่าไม้
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอมรรัตน์ จันทร์แดง
พี่เลี้ยงโครงการ นายประสิทธิ์ แพใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนป่าไม้ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิตทางกลุ่ม อสม.ชุมชนป่าไม้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแล/ส่งเสริมสุขภาพกาย-จิตผู้สูงอายุในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการชุมชนป่าไม้ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย กายจิตแข็งแรง ปี 2560 ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ผู้สูงอายุมีความรู้และ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุเข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ

2 เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว

เกิดชมรมผู้สูงอายุในชุมชนและมีกิจกรรมดำเนินงานต่อเนื่อง

3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน

ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชุมชนมากกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุม/ประชาคมในชุมชน
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการ เสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ อสม.ในชุมชน ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดกิจกรรมและดำเนินการ ดังนี้

- ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น (ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต/ประเมิน ดัชนีมวลกาย) - อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม - กำหนดวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรมในชุมชน/ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม ในชุมชน - ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายจิตในชุมชน เช่นการออกกำลังกาย สันทนาการ การรำวงเป็นต้น - จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในชุมชน 5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  2. ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และสามารถอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคม ผู้สูงอายุและครอบครัว
  3. ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินงานผู้สูงอายุของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 17:27 น.