กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนป่ามะพร้าว ร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6895-02-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.ชุมชนป่ามะพร้าว
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปราณี ไกรว่อง
พี่เลี้ยงโครงการ นายประสิทธิ์ แพใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนป่ามะพร้าว ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศเนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเองชุมชน /สังคมตามลำดับแต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5-9 ปีแต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุและยังมีการระบาดทุกปีสําหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดตรังตั้งแต่ปี 2535-2558 ของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปี อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอําเภอปี 2558 ในพื้นที่จังหวัดตรัง 3 อันดับแรกพบว่า อําเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อําเภอเมืองอัตราป่วย 149.25 ต่อแสนประชากรรองลงมาคืออําเภอกันตังอัตราป่วย84.31 ต่อแสนประชากร และอําเภอย่านตาขาวอัตราป่วย65.49ต่อแสนประชากรและจากสถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตังเมื่อปี2558มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมจำนวน29 รายเกิดขึ้นในชุมชนป่าไม้จำนวน 2 รายโดยชุมชนป่าไม้มีจำนวน200หลังคาเรือนและในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและเกิดความร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ดังนั้น ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนป่ามะพร้าวจึงได้จัดทำโครงการชุมชนป่ามะพร้าวร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออกปี 2560 เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพ ในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชาชน/แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 50 คนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกําจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน

ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุม/ประชาคม
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการ เสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการโรคไข้เลือดออก
  5. รณรงค์ให้ชุมชนร่วมกันดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้หลัก 5 ป 1 ข
  6. จัดตั้งธนาคารปลาในชุมชน มอบให้ครัวเรือนที่สนใจร่วมโครงการ
  7. สำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดย อสม./แกนนำสุขภาพในชุมชน พร้อมรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บุคคล ครอบครัว ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีส่วนในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายHouse Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) 3. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 17:31 น.