กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลาดสด ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L6895-01-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤษภาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกันตัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายประสิทธิ์ แพใหญ่
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนและอาหารที่ประชาชนบริโภคนั้นต้องปราศจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษหรือปนเปื้อนจากเชื้อโรค ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดเป้าหมายที่จะมุ่งสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการมีสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนโดยกำหนดเป็นนโยบายและภารกิจที่สำคัญระดับชาติโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนใส่ใจในสุขภาพบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยไรสารพิษดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับประทานอาหารที่สะอาดปลอดภัย ตระหนักถึงอันตรายจากการที่บริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนและให้ผู้ประกอบการร้านอาหารใส่ใจเรื่องสุขาภิบาลอาหาร ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตังจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการตลาดสดปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการตลาดสดและร้านอาหารใส่ใจสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกันตังดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านตลาด สด จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง เป็นตลาดสดที่มีมาตรฐาน ตลาดสดน่าซื้อ ผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดสดได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้า และจำหน่ายสินค้าเป็นไปตามหมวดหมู่ ของประเภทสินค้าที่ทางเทศบาลกำหนด แก้ไขปัญหาการวางสินค้าไม่เป็นระเบียบพร้อมปฏิบัติตัวในการจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ตามหลัก รวมถึงผู้จำหน่ายสินค้ามีส่วนร่วมในการ กำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดสดและร่วมพัฒนาทั้งด้านสถานที่จำหน่ายสินค้าด้านการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลของผู้จำหน่ายและผู้ช่วย พร้อมการนำสินค้าที่มี คุณภาพมาจำหน่าย ส่งผลให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่สะอาดปลอดภัย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตลาดสด รวมถึงร่วมแก้ไขปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งมีสาเหตุจากร้านจำหน่ายอาหารสดในตลาดสด

1.ตลาดสดประเภทที่ 1 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ ร้อยละ 100
2.ตลาดสดประเภทที่ 2 (ตลาดนัด) ผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

2 เพื่อส่งเสริมการจัดบริการอาหารในตลาดสดให้ถูกสุขลักษณะ

อาหารสดผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปนเปื้อน 6 ชนิดร้อยละ 100

3 เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดบริการด้านอาหารและสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

4 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง 1.2 เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.3 วางแผนการดำเนินงาน/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.5 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นปลิวไวนิล รถประชาสัมพันธ์พร้อมป้าย เป็นต้น 1.6 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น วัสดุทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยของอาหาร/การคุ้มครองผู้บริโภค/การตรวจหาสารปนเปื้อนในตัวอย่างอาหาร 2.2 ติดตามประเมินผล โดยการตรวจประเมินตลาดสดเทศบาล เพื่อมอบป้ายตลาดสดน่าซื้อ (HealthyMarket) 2.3 มอบป้ายตลาดสดน่าซื้อ (HealthyMarket) แก่ร้าน/แผงที่เข้ารับอบรมที่ผ่านเกณฑ์
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนสามารถลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่ สะอาด ซึ่งมีสาเหตุจากร้านจำหน่ายอาหารสดในตลาดสด
  2. ประชาชนได้จับจ่ายสินค้าในสถานที่ที่สะอาด ได้มาตรฐาน และซื้อสินค้าที่มีความปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองสิทธิ/สุขภาพผู้บริโภค
  3. ผู้จำหน่าย มีการปรับปรุงแผงจำหน่ายให้ถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 17:37 น.