โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา |
วันที่อนุมัติ | 11 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 53,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรีซัน สาฮะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.61,100.833place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทย กำลังประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดประจำถิ่น ได้แก่ไข้มาลาเรีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียทำอันตรายถึงชีวิต ด้านงบประมาณ ต้องสูญเสียงบประมาณ ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งงบประมาณที่ใช้รักษาแต่ละรายค่อนข้างสูง และทำให้การพัฒนาของประเทศต้องล่าช้า เนื่องจากต้องแก้ปัญหาด้านสุขภาพของคนภายในประเทศ จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียของประเทศไทย ไข้เลือดออก สำหรับประเทศไทยปี 2562 ตั้งแต่วัน 1 ม.ค.–7 พ.ย.2562 พบผู้ป่วยสะสมรวม 111,535 ราย อัตราป่วย 168.22 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 120 ราย อัตราตาย 0.11 ต่อแสนประชากร โดยผู้ป่วยกลุ่มอายุ 10–14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด ไข้มาลาเรีย สำหรับประเทศไทยปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 – 15 พ.ย. 62 พบผู้ป่วย 4,938 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.075 ต่อแสนประชากร จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือจังหวัดยะลา พบผู้ป่วย 1,307 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.491 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือจังหวัดตาก พบผู้ป่วย 1,496 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.344 ต่อแสนประชากร ส่วนจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วย 169 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.119 อยู่อันดับที่ 10 ของประเทศ
สำหรับอำเภอสะบ้าย้อยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกิดโรค ประกอบกับเป็นพื้นที่รอยต่อติดกับจังหวัดยะลา มีการย้ายถิ่น การเคลื่อนไหวของประชากรเพื่อการศึกษา และประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้มากกว่าพื้นที่อื่น จากรายงานการระบาดของโรคมาลาเรียในอำเภอสะบ้าย้อยในปี พ.ศ. 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 ถึง 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ) พบว่า พบผู้ป่วย จำนวน 39 ราย และโรคไข้เลือดออกในอำเภอสะบ้าย้อยในปี พ.ศ. 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2562 ถึง 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2562) พบว่า พบผู้ป่วย จำนวน 175 ราย มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 103.60 (ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา คปสอ. สะบ้าย้อย)
โดยตำบลคูหาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย อย่างต่อเนื่อง ไข้เลือดออกมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2560 เท่ากับ 151.33 (10)ราย ปี 2561 เท่ากับ 15.13 (1 ราย) ปี 2562 เท่ากับ 136.36 (9 ราย) โรคไข้มาลาเรียมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2560 เท่ากับ 15.13 (1ราย) ปี2561 ไม่พบผู้ป่วย ปี 2562 ไม่พบผู้ป่วย (ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา ศปสอ.สะบ้าย้อย) จากสถิติสถานการณ์โรคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อัตราการระบาดของโรคมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังพบผู้ป่วยเกิดทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โดยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563” ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและป้องกันการระบาดของโรคมาลาเรีย และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาตามประเด็นจุดเน้นของจังหวัดสงขลา ปี 2563 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำคัญ โรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ทีมพ่นหมอกควันและแกนนำอสม.มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเครื่องพ่นและวิธีการใช้งาน ทีมพ่นหมอกควันและแกนนำอสม.มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลเครื่องพ่นและวิธีการใช้งาน ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียในพื้นที่ตำบลคูหา จำนวนผู้ป่วยในหมู่บ้านลดลงกว่าปี 2562 |
0.00 | |
3 | เพื่อลดความชุกชุมของ พาหะนำโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า ร้อยละ 10 |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | จัดอบรมฟื้นฟูการใช้การดูแลเครื่องพ่นหมอกควันแก่อาสาสมัครทีมพ่นหมอกควันและแกนนำอสม.จำนวน 20 คน 3 ชั่วโมง | 22 | 2,350.00 | - | ||
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ประจำปี (๒ครั้ง/ปี) ห่างกัน 1 สัปดาห์ | 0 | 41,100.00 | - | ||
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | ดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ครั้ง/คน) | 0 | 8,500.00 | - | ||
1 มิ.ย. 63 - 1 ก.ย. 63 | เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน | 100 | 1,100.00 | - | ||
รวม | 122 | 53,050.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นก่อนดำเนินการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ
ขั้นการดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมฟื้นฟูการใช้การดูแลเครื่องพ่นหมอกควันแก่อาสาสมัครทีมพ่นหมอกควันและแกนนำอสม.จำนวน 20 คน 3 ชั่วโมง 2.2 กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ ประจำปี (๒ครั้ง/ปี) ห่างกัน 1 สัปดาห์ 2.3 กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการพ่นหมอกควัน เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือในกรณีมีการระบาด (๒ครั้ง/คน)
2.4 กิจกรรมที่ 4 เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน โดยมีแกนนำนักเรียนโรงเรียนบ้านคูหา, แกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม) จำนวน 100 คน โดยวิธี ทางกายภาพ - รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนและในโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทางเคมีภาพ - รณรงค์ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม.นักเรียนและพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ – ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้ไล่ยุ่ง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 3.1 ประเมินโครงการ 3.2 สรุปผลโครงการ/รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2563 15:23 น.