กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3009-04-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน เวาะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในหลายมาตรา ได้กำหนดให้ ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหลายรูปแบบทั้งในส่วนของการเข้ารับบริการ การบริหารจัดการ การตรวจสอบ และรับรองคุณภาพบริการ   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนได้มีการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ซึ่ง อบต.กะมิยอ ได้เข้าร่วมจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพในชุมชน ครอบคลุมประชาชน 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) กลุ่มหญิงมีครรภ์    2) กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี 3)กลุ่มเด็กโตอายุ 6 ปีถึงต่ำกว่า 25 ปี 4) กลุ่มผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และ 5) กลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ ให้สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพ  ได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป   กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กะมิยอ ได้จัดทำ “โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กะมิยอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กะมิยอ รวมทั้งเพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กะมิยอ ได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ชุมชน หรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการการบริหารกองทุนฯ และองค์ผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

38.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 90,000.00 0 0.00 90,000.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประชุมคณะอนุกรรมการ/กรรมการกองทุน/คณะกรรมการ LTC/เจ้าหน้าที่อื่นๆที่ได้รับมอบหมาย 38 46,800.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 38 4,560.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์สำนักงาน,วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 38 17,640.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมอบรมต่าง ๆ 38 3,000.00 - -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 38 18,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 190 90,000.00 0 0.00 90,000.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
      - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน   - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
      - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน   - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน   - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
  3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
      - จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี   - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี   - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  3. กองทุนสามารถบริหารจัดการได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 11:37 น.