กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี ด้วยมือเราในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L2477-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 11,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไฮดา กือจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีฟันผุ
11.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาทางทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของโลก และเป็นปัญหาอันดับต้นๆของประเทศไทยที่ไม่สามารถแก้ไขให้ได้อย่างถาวร เนื่องจากเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างร่วมกัน เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงลักษณะของอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนไปมาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติ สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และเด็กปฐมวัย ปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงมีครรภ์ จากการเป็นโรคปริทันต์จะส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์และการคลอดของทารกได้ นอกจากนี้แม่ที่มีฟันผุยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุในลูกด้วย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้ เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่อง ปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้ เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ จากผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและทันตกรรมป้องกันฟันผุในเด็กต่ำกว่า 3 ปีพบว่า โดยเฉลี่ยในเขตตำบลผดุงมาตร ปี 2563 เด็กมีฟันผุ ร้อยละ 11.5 จากการประเมินความเสี่ยงมีภาวะเสี่ยงของผู้ปกครองในการดูแลช่องปาก พบว่ามีความเสี่ยงสูงในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 50.6 จากผู้ปกครอง 150 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดี ด้วยมือเราในเด็กต่ำกว่า 3 ปีตำบลผดุงมาตร ปี 2564 โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรและกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตรเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพในตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการตรวจฟันและฟลูออไรด์

เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการตรวจฟันและฟลูออไรด์ ทุกราย

150.00 150.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก

ผู้ปกครองมีความรู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

150.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์เด็กในชุมชน 0 0.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อนผู้ปกครองเด็กแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก) 0 11,190.00 -
20 ต.ค. 64 ตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์ในเด็ก 0 0.00 0.00
27 ต.ค. 64 อบรมผู้ปกครองเด็กแปรงฟันแบบ hand on (ปฎิบัติจริงในช่องปาก) 0 0.00 11,190.00
รวม 0 11,190.00 2 11,190.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ปราศจากฟันผุเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันให้ลูกมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2563 00:00 น.