กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 37,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย พบอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุ 30 - 50 ปี โรคมะเร็งเต้านม มีสาเหตุโดยตรงจากปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบว่า ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้ มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัส HPV การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือการตรวจเอ็กซเรย์ Mammogram ปีละ 1 ครั้งในกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ซึ่งมีการคัดกรอง 2 วิธี คือ 1) Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ 2) VIA เป็นวิธีที่ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ รู้ผลทันที ซึ่งปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก  แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง ประกอบกับหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยมารับบริการ ทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอายไม่กล้า และความอดทนที่มีอยู่นี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใครถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน  สิ่งนี้หากเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลัง สำหรับในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม รวมจำนวน 39 รายเป็นรายใหม่ 1 ราย และผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก รวมจำนวน 20 ราย เป็นรายใหม่ 1 ราย ดังนั้น  การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จึงมีความสำคัญและจำเป็น แม้จะเป็นงานยากต่อการปฏิบัติ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเมืองกันตัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
  • สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 356 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • สตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 1,975 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 37,900.00 2 37,900.00
14 ม.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 100 22,300.00 21,420.00
16 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมรณรค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก 0 15,600.00 16,480.00
  1. ประสานแกนนำสุขภาพในชุมชน สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60 ปี
  2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น โรงพยาบาลกันตัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ในการประสานส่งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการกับเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.กันตัง
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมสำหรับการดำเนินงาน
  4. อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสตรีทั้ง 12 ชุมชน จำนวน 100 คน
  5. ประเมินความรู้-ทักษะก่อนและหลังเข้ารับการอบรม
  6. จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

- เชิงรุก  ในชุมชนร่วมกับแกนนำกลุ่มสตรีที่ผ่านการอบรม ให้คำแนะนำ/ติดตาม/ชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งหมุนเวียน 12 ชุมชน โดยใช้สื่อรณรงค์ร่วมด้วย - เชิงรับ บริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในเดือนรณรงค์ ในเดือนมกราคม -เดือนมีนาคม 2564 ทุกวันอังคารของสัปดาห์ และวันหยุดราชการเดือนละ 2 วัน จำนวน 6 วัน 7. หลังเดือนรณรงค์ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกวันอังคารสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน 8. แจ้งผล/ติดตามและส่งต่อผู้ป่วยกรณีพบความผิดปกติทุกราย 9. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือผู้ป่วย 10. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสตรี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก  อีกทั้งมีทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคิดเป็นร้อยละ 90  และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 20
  3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 09:03 น.