กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 26,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต
รายงานข้อมูลสุขภาพเขต 12 สงขลา ปี 2563 พบว่า  ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  มีผู้ป่วย โรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 618 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 56 คน ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1C ประเมินการควบคุมระดับน้ำตาล จำนวน 483 คน พบว่าค่า HbA1C อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้คือ น้อยกว่า 7% จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 25.57 ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานมารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังที่ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 110 คน พบว่า  ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ไม่ได้ คือ มีค่า HbA1C มากกว่า 7% จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 63.64 และควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ได้ คือมีค่า HbA1C น้อยกว่ากว่า 7% จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 36.36
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดทำ โครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวาน  ปรับเปลี่ยน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2564 ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความตระหนัก และเพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่จะเกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองป้องกันโรคแทรกซ้อนและตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทางตา ไต เท้า อันจะทำให้เกิดความพิการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 26,000.00 4 26,600.00
22 ธ.ค. 63 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 60 20,100.00 19,164.00
25 ม.ค. 64 กิจกรรมติดตามเสริมพลังผู้ป่วยที่มีค่าระดับ HbA1C มากกว่า 7mg % ครั้งที่ 1 20 1,800.00 1,800.00
25 ก.พ. 64 กิจกรรมติดตามเสริมพลังผู้ป่วยที่มีค่าระดับ HbA1C มากกว่า 7mg % ครั้งที่ 2 20 2,300.00 3,236.00
25 มี.ค. 64 กิจกรรมติดตามเสริมพลังผู้ป่วยที่มีค่าระดับ HbA1C มากกว่า 7mg % ครั้งที่ 3 20 1,800.00 2,400.00
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอให้อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติงบประมาณ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกNCDเทศบาลเมืองกันตัง และสถานบริการอื่นๆ พร้อมดูค่าระดับ HbA1C จากผลการเจาะเลือดประจำปีของผู้ป่วย และคัดเลือกผู้ป่วยที่มีค่าระดับ HbA1C มากกว่า 7mg% และ/หรือระดับน้ำตาลเกินเกณฑ์ที่ควบคุมได้ FBS >130mg/dl 3 ครั้งติดต่อกัน
  3. ชี้แจงความสำคัญและความจำเป็นให้กลุ่มเป้าหมายทราบและเชิญชวนให้สมัครใจเข้ารับการอบรม
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลกันตัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรคแทรกซ้อน พร้อมแบ่งกลุ่มเข้าฐานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรับประทานอาหาร ยา การออกกำลังกาย สมาธิบำบัด
  6. จัดกิจกรรม ทบทวน เน้นย้ำการดูแล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังเทศบาล และประเมินระดับน้ำตาลในเลือดทุกครั้งที่มารับบริการ ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
  7. ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการอบรมที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อช่วยประเมินและแก้ไขปัญหา
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ  และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้  สามารถป้องกันและ/หรือลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มาร่วมกิจกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 09:04 น.