กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2563 โดยมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี 2558 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวา ง  โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากร  วัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น  โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ  ขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย และเจ็บป่วยได้ง่าย รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
จากข้อมูลประชากรกลางปีงานทะเบียนราษฎร์ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองกันตัง ณ เดือนตุลาคม 2563 มีผู้สูงอายุจำนวน 1,964  คน คิดเป็นร้อยละ 16.55 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมร้อยละ 16.35 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงคิดเป็นร้อยละ 0.20 ดังนั้นทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการประจำเดือน ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่ก่อให้ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 24,800.00 2 8,450.00
24 ก.พ. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 8,900.00 4,780.00
17 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 15,900.00 3,670.00
  1. สำรวจฐานข้อมูลและจัดทำทะเบียนผู้สูงอายุในเขตเทศบาล
  2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเข้าร่วมกิจกรรมประจำเดือน
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลกันตัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
  4. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุติดสังคม ทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
      4.1 ให้ความรู้หลัก 3 อ. 2 ส. และตรวจคัดกรองประเมินสุขภาพร่างกาย โดยคัดกรองโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูง
      4.2 ให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน และตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและฟัน   4.3 ให้ความรู้หลักการออกกำลังกาย และส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เช่น แบบมณีเวช การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบไม้พลอง เป็นต้น   4.4 ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาภาวะเข่าเสื่อมโดยศาสตร์แพทย์แผนไทย และประเมิน ภาวะเข่าเสื่อมพร้อมส่งต่อถ้าอาการรุนแรงเพื่อรับการรักษาต่อไป   4.5 ให้ความรู้การป้องกันการหกล้ม และประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ
      4.6 ให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับผู้สูงวัย และประเมินสุขภาพเบื้องต้น
  5. ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมแต่ละเดือน
  6. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงานแต่ละเดือนต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 09:31 น.