กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 2 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 22,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ดารารัตน์ อ่อนมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534  มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคนพิการว่า  เป็นคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง  และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยวิธีทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม  และการฝึกอาชีพเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงาน หรือดำรงชีวิตในสังคมทัดเทียมคนปกติ มาตรา 15 ให้คนพิการที่ได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 14 ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย  ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ในเขตเทศบาลเมืองกันตังมีจำนวนประชากรทั้งหมด 11,862 คน จำนวนผู้พิการทั้งหมด 202 ราย แบ่งตามประเภทความพิการ คือ ทางกาย/การเคลื่อนไหว 96 ราย ทางสติปัญญา 15 ราย ทางการเรียนรู้ 4 ราย ทางการได้ยิน 26 ราย ทางจิต 30 ราย ทางการมองเห็น 23 ราย ออทิสติก 1 ราย  และพิการซ้ำซ้อน 7 ราย มีผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ต้องมีผู้ดูแล  ซึ่งผู้ดูแลประจำส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลที่ถูกต้อง  และบางครั้งผู้พิการ/ทุพพลภาพถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง  จึงทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญ จึงจัดโครงการร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง อันจะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ/ทุพพลภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ มีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพชุมชนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ทักษะในการดูแลผู้พิการทุพพล-ภาพทางการเคลื่อนไหว
  2. เข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
0.00
2 เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 100 ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านโดยอาสาสมัครดูแลผู้พิการ

0.00
3 เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตของคนพิการ/ทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 94 22,480.00 2 22,480.00
19 มี.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 70 20,180.00 20,220.00
1 มิ.ย. 64 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ 24 2,300.00 2,260.00
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลกันตัง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้พร้อมฝึกทักษะแก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมประเมินความรู้-ทักษะการดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพ และประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ
  5. รับสมัครแกนนำสุขภาพชุมชนที่ผ่านการอบรม จำนวน 24 คน เพื่อมาเป็นอาสาสมัครดูแลผู้พิการในชุมชน
  6. จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยให้อาสาสมัครดูแลคนพิการออกให้บริการเยี่ยมบ้านเชิงรุกตามความสมัครใจของผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน ร่วมกับทีมดูแลผู้พิการ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมแนะนำ ให้การปรึกษาการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความพิการ
  7. ติดตามการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านก่อน-หลังการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย ทีมดูแลผู้พิการเพื่อประเมินความสามารถของผู้พิการรวมทั้งพิจารณาปรับเปลี่ยนโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้พิการแต่ละรายหรือพิจารณาส่งต่อรับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่โรงพยาบาล
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ และมีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น
  2. ผู้พิการ/ทุพพลภาพได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับหนึ่ง โดยญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม
  3. ผู้พิการ/ทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านเชิงรุกเป็นการกระตุ้นและสร้างขวัญกำลังใจให้คนพิการ/ทุพพลภาพรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 13:29 น.