กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เสริมพลังผู้ดูแล ร่วมใส่ใจดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. พิชชานันท์ สุขเกษม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากโรคเรื้อรัง อายุ อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยในระยะท้ายของชีวิต ปี 2558 รัฐบาลมีนโยบายทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้านของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ในปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 30 ราย การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ และยังขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังผู้ดูแล ร่วมใส่ใจดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง              เทศบาลเมืองกันตัง ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และเกิดทักษะการดูแลผู้ป่วยได้เบื้องต้น ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตราย อีกทั้งยังทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยและอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้และมีทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้อย่างถูกต้อง

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้คะแนนประเมินความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณตามสภาพผู้ป่วย
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมเครือข่ายสุขภาพและอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง พร้อมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 10,880.00 2 10,840.00
8 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 10,730.00 10,780.00
19 - 22 เม.ย. 64 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 30 150.00 60.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน 1.2 เสนอแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง และเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1.3 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ เช่น โรงพยาบาลกันตัง ทีมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกันตัง เป็นต้น
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงที่สนใจเข้าร่วมโครงการในเรื่องการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง พร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติการทำหัตถการ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายออกซิเจน การจัดท่าทาง การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย และการฟื้นฟูสภาพร่างกายโดยการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น พร้อมประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2.2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง พร้อมทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลกันตัง และอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง โดยการประเมินสภาวะสุขภาพผู้ป่วย วางแผนการดูแล ให้การดูแลและฟื้นฟูสภาพร่างกาย
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
  2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีองค์ความรู้และมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 13:32 น.