กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 93,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชรี หยังหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เป็นโรคอันตรายในพื้นที่ประเทศเขตร้อนชื้น การระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เกิดจากมีน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีการกำจัดลูกน้ำในบ้านทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง และการเตรียมความพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดเพื่อลดประชากรของยุงลายในพื้นที่ โดยการประสานกับหน่วยงานอื่นๆ หน่วยงานเอกชน ร่วมกันกำจัดลูกน้ำในพื้นที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชน ตลาดสด สวนสาธารณะ เป็นต้น เพื่อควบคุมการระบาดในระดับพื้นที่  แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก  ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2564  ขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชน มีทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยกระตุ้นให้ประชาชนทุกครัวเรือน ทุกชุมชน ตลอดจน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรค  และเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ลดอัตราการป่วยและการระบาดจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกถูกวิธี และเหมาะสม
  1. ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพในชุมชน/นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
0.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน ให้โรงเรียน ชุมชนเป็นเขตปลอดลูกน้ำยุงลาย

-ร้อยละ 80 ของชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกิน ร้อยละ 10 -ร้อยละ 100 ของโรงเรียน และวัด มีค่า ( CI ) น้อยกว่า 5 -อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลไม่เกิน 50 / แสนประชากร

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน นักเรียน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ลดอัตราการป่วยและการระบาดจากโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 205 93,675.00 3 93,675.00
8 มี.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการ 205 54,575.00 53,483.00
12 มี.ค. 64 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค 0 24,960.00 25,020.00
12 มี.ค. 64 กิจกรรมการรณรงค์/ประชาสัมพันะ์ 0 14,140.00 15,172.00
  1. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ชุมชน เพื่อประสานกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง โรงพยาบาลกันตัง กอง/ฝ่ายต่าง ๆ ในสำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง เพื่อขอสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น วิทยากร  อุปกรณ์และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำชุมชน/กรรมการชุมชน และแกนนำสุขภาพชุมชน จำนวน 120 คน เกี่ยวกับความรู้โรคไข้เลือดออก /การป้องกันโรคไข้เลือดออก/การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในบริเวณครัวเรือน และประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียนในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและดำเนินการเฝ้าระวังสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและครัวเรือนตนเอง จากโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของเทศบาล จำนวน 4 โรง โรงเรียนละ 20 คน รวมจำนวน 80 คน รวมทั้งครูอนามัยโรงเรียนๆ ละ  1-2 คน
  6. รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทั้ง 12 ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/วัด ทุกเดือน พร้อมดำเนินการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยหมุนเวียนทุกวัน
  7. ติดตามสอบสวนและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก ทุกราย เมื่อมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน โดยการสำรวจ/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยและในพื้นที่รัศมี 100 เมตร พร้อมทั้งให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันตนเอง
  8. จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สารเคมีที่ใช้พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย  ทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง เป็นต้น
  9. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูแบบต่าง ๆ เช่น เอกสารความรู้ แผ่นพับ ไวนิล เผยแพร่ในโรงเรียนและชุมชน
  10. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 14:37 น.