กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบลีลาศด้วย 4 จังหวะ ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-02-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 39,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรพินท์ จิโรจน์มนตรี/นางลัทธิยา รัตนคช/นางธวัลรัตน์ นิชรัตน์กุล
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ การออกกำลังกายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแรง และจิตใจของคนเราแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อได้มากมายหลากหลายรูปแบบ ช่วยในการบำบัดรักษาฟื้นฟูเสริมสร้างสุขภาพ และสมรรถภาพทางกายรวมทั้งช่วยลดไขมันในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อตึง ช่วยให้พัฒนาการรับรู้ของระบบประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ออกกำลังกายเกิดความมั่นใจในรูปร่างและความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวที่สำคัญ ประชาชนสามารถทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และยังทำได้ทุกเพศทุกวัย เป็นการส่งเสริมสุขภาพง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น  การกระตุ้นให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เกิดความตระหนักและตื่นตัว  เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย  จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะการออกกำลังกายนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงและลดภาวะแทรกซ้อนต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย ชมรมลีลาศเพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง  ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลส่งเสริมสุขภาพ  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบลีลาศด้วย 4 จังหวะ ปี 2564  เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี สุขภาพจิตสดใส ร่างกายแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ใน การดูแลสุขภาพ และเรียนรู้วิธีการออกกำลังกายด้วยลีลาศ 4 จังหวะ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในระดับดีมาก

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพแก่ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม มีสุขภาวะที่ดี สุขภาพจิตสดใส ร่างกายแข็งแรง ลดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ระดับหนึ่ง

ร้อยละ 80 ของประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม  มีทักษะการออกกำลังกายด้วยลีลาศท่าพื้นฐาน จำนวน 4 จังหวะ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติ 70 29,000.00 -
1 พ.ค. 64 กิจกรรมออกกำลังกายแบบลีลาศ 0 10,800.00 -
รวม 70 39,800.00 0 0.00
  1. จัดประชุมประชาคมสมาชิกชมรมลีลาศร่วมเสนอความต้องการและความคิดเห็นในการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองกันตัง
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการดำเนินงานขอสนับสนุนงบประมาณเสนอ เพื่อพิจารณากลั่นกรอง และเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อขออนุมัติดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
  3. ประชุมคณะกรรมการชมรมลีลาศ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน เช่น การรับสมัครสมาชิกใหม่  การเตรียมการดำเนินงาน การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  4. จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนและหลังการอบรม เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ ตัวแทน
  5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ พร้อมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยการเต้นลีลาศพื้นฐาน อย่างน้อย จำนวน 4 จังหวะ( คิวบันรัมบ้า , ไจว์ฟ, วอลซ์ และควิกสเตป)
  7. จัดกิจกรรมออกำลังกายแบบลีลาศจำนวน 4 จังหวะอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยมีวิทยากรนำออกกำลังกาย เป็นระยะเวลา 3 เดือน
  8. ประเมินทักษะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผลความพึงพอใจ
  9. สรุป/รายงานผลหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการต่อกองทุนสุขภาพฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีทักษะการออกกำลังกายด้วยลีลาศท่าพื้นฐานได้อย่างน้อย 4 จังหวะ 2.ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรม มีสุขภาวะที่ดี สุขภาพจิตสดใส ร่างกายแข็งแรง ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรังและ/หรือลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 14:41 น.